วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ลักษณะทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงใหม่

ลักษณะทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงใหม่

จังหวัดเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในภาคเหนือของประเทศไทย รายได้หลักของประชากรมาจากการเกษตรกรรมและการท่องเที่ยว หากพิจารณาโครงสร้างทางเศรษฐกิจของจังหวัด ประกอบด้วยอาชีพที่สำคัญแยกได้ตามลำดับความสำคัญ ดังนี้

1. การเกษตรกรรม
.

1.1 การทำนา ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในการทำนามีถึงร้อยละ 80 ของประชากรทั้งหมด ในบางอำเภอสมารถทำนาได้ปีละ 2 ครั้ง เช่นอำเภอสันป่าตอง เพราะอยู่ในพื้นที่รับน้ำชลประทาน บริเวณที่เพาะปลูกข้าวอยู่ตามที่ราบริมฝั่งแม่น้ำ และที่ราบระหว่างภูเขา ข้าวที่ปลูกจะปลูกข้าวเหนียวซึ่งเอาไว้รับประทานมากกว่าข้าวเจ้าซึ่งเอาไว้ขาย เริ่มปลูกตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไปและเก็บเกี่ยวประมาณเดือนธันวาคม การทำนาจะมีทั้งนาปีหรือนาดำและทำนาปรัง
.

1.2 การปลูกพืชไร่ มีการปลูก 2 ฤดู คือทำไร่ในฤดูฝน คือ ทำไร่ในฤดูฝน กับทำไร่หลังฤดูทำนา คือหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว พืฃที่ปลูกได้แก่ ผักต่างๆ เช่นกะหล่ำปลี ผักกาดขาว ผักกาดหางหงส์ ถั่วลันเตา แตงกวา ซึ่งจะปลูกมากในเขตอำเภอฝาง แม่แตง สันทราย แม่ริม สันป่าตอง จอมทอง สันกำแพง และดอยสะเก็ด
.

นอกจากพวกผักต่างๆแล้ว พืชไร่เศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกรได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง กระเทียม ยาสูบและใบชาเป็นต้น
.

1.3 การทำสวนผลไม้ มีลำไย ลิ้นจี่ มะม่วง โดยเฉพาะลำไยทำรายได้ให้แก่ชาวสวนมาก อำเภอที่ปลูกลำไยมากคือ อำเภอสารภี นอกจากลำไยยังมีการทำสวนส้ม ปัจจุบันที่มีชื่อเสียงมีเนื้อที่ปลูกประมาณ 1,000 ไร่ ของสวนธนาธร ในเขตอำเภอฝาง ได้แก่พันธุ์ฟรีมองต์ พันธุ์สายน้ำผึ้ง เป็นต้น ลิ้นจี่ปลูกมากในเขตอำเภอฝาง อำเภอไชยปราการ อำเภอแม่อาย นอกจากนี้ยังมีสตรอเบอรี่ นิยมปลูกทั่วไปในบริเวณเชิงเขา ผลผลิตออกมามากในช่วงฤดูหนาวประมาณเดือนธันวาคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์
.

1.4 การทำป่าไม้ จังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่ป่าไม้มากที่สุดในภาคเหนือ อาชีพการทำป่าไม้มีมานานแล้ว ทำรายได้ให้แก่ผู้ดำเนินกิจการเป็นอย่างมากแต่ปัจจุบันพื้นที่ป่าไม้ลดลง เนื่องจากการบุกรุกทำลายป่าของชาวเขาที่ต้องการพื้นที่ทำไร่เลื่อนลอย การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติของหน่วยราชการต่างๆ เช่นการตัดถนน การสร้างอ่างเก็บน้ำ นอกจากนี้ยังมีการบุกรุกตัดไม้ของนายทุน การทำป่าไม้จึงมีในท้องที่อำเภอทุกอำเภอ
.

1.5 การเลี้ยงสัตว์ ส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงเพื่อการบริโภค และการใช้แรงงาน เช่น โค กระบือ ม้า ใช้เป็นพาหนะและบรรทุกของในชนบท สัตว์ที่เลี้ยงเป็นอาหาร เช่นเป็ด ไก่ สุกร แพะ และปลา ปัจจุบันสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดได้ดำเนินการปรับปรุงพันธ์โคนม โคเนื้อโดยใช้พ่อพันธ์คุมฝูงและวิธีการผสมเทียม มีการส่งเสริมให้เอกชนลงทุนด้านฟาร์มโคนม ให้ผลผลิตน้ำนมพอเพียงแก่การบริโภคของประชากรในเชียงใหม่
.

1.6 การประมง สภาพการประมงในจังหวัดเชียงใหม่เป็นการทำประมงน้ำจืดจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่นแม่น้ำปิง เขื่อนต่างๆ เป็นต้น ส่วนใหญ่มักจะทำเพื่อการบริโภค อาชีพการประมงยังไม่แพร่หลายมากนัก แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันทางราชการได้มีการส่งเสริมการเลี้ยงปลาพันธุ์ต่างๆ เช่นปลาไน ปลานิล ปลายี่สกเทศ ปลาตะเพียนขาว ปลาสวาย ปลาทับทิม เป็นต้น
.

2. การอุตสาหกรรม
โรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดเชียงใหม่ส่วนใหญ่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมขนาดย่อม และอุตสาหกรรมในครอบครัว ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับผลผลิตทางการเกษตร เช่นโรงสีข้าว โรงงานน้ำตาล โรงงานสุรา โรงบ่มใบยาสูบเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา ทำไม้ โม่บดหิน อาหารกระป๋อง ผลไม้กระป่อง เป็นต้น
.

สำหรับอุตสาหกรรมเพื่อการท่องเที่ยว คือการทำร่ม แกะสลัก ตัดเย็บเสื้อผ้า ของที่ระลึกต่างๆ เครื่องเงิน เครื่องเขิน เนื่องจากเชียงใหม่มีวัตถุดิบที่สำคัญและมีแรงงานที่ชำนาญงานและยังเป็นแหล่งตลาดที่สำคัญของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
.

การแกะสลักไม้ เป็นการแกะสลักเป็นรูปต่างๆ ที่นิยมกันมากคื่อรูปช้าง ปัจจุบันแหล่งแกะสลักที่มีชื่อเสียงได้แก่ อำเภอสันกำแพง ,บ้านถวายอำเภอหางดง
.

เครื่องเงิน หมู่บ้านวัวลาย ถนนวัวลาย อำเภอเมืองเชียงใหม่ เป็นแหล่งผลิตเครื่องเงินอันลือชื่อของเชียงใหม่ ซึ่งเป็นอาชีพที่สืบต่อกันมาปรากฏตามตำนานเมืองเหนือว่า ได้เข้ามาอยู่ในเชียงใหม่ในสมัยพระเจ้าช้างเผือก หรือพระเจ้าน้อยธรรมลังกา ประมาณปี พ.ศ.2353 อาชีพการทำเครื่องเงินมีในอำเภอต่างๆ โดยมากจะทำในบริษัทที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว เช่นตามเส้นทางจากอำเภอเมืองเชียงใหม่ไปอำเภอสันกำแพง
.

3. การค้าและบริการ
.

3.1 การค้า
ธุรกิจส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ และกระจายไปยังอำเภอต่างๆ ที่มีสภาพเศรษฐกิจดี เช่น อำเภอสันกำแพง สันทราย สันป่าตอง แม่ริม ฝาง และสารภี เชียงใหม่เป็นศุนย์กลางทางธุรกิจภาคเหนือที่มีความสะดวกในการคมนาคมขนส่งสินค้าสำคัญได้แก่ สินค้าการเกษตร และสินค้าพื้นเมือง เช่นเสื้อผ้าพื้นเมือง เครื่องเงิน เครื่องเขิน ไม้แกะสลัก เป็นต้น เชียงใหม่มีตลาดสดและศูนย์การค้าหลายแห่ง เช่น ตลาดวโรสร (กาดหลวง) ตลาดต้นลำใย ศูนย์การค้ากาดสวนแก้ว ศูนย์การค้าโรบินสัน แอร์พอร์ต ในท้องถิ่นอื่นๆมีธุรกิจเป็นตลาดนัดสินค้า (กาดวัว) มีกำหนดนัดผลัดเปลี่ยนกันไปในแต่ละพื้นที่
.

3.2 การบริการ
.

ธุรกิจด้านการบริการการท่องเที่ยว เป็นอาชีพที่สำคัญมากอย่างหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่โดยเฉพาะ กิจการด้านโรงแรม มีโรงแรมที่ทันสมัยสะดวกสบายมากมาย การขนส่ง ทางรถไฟ เครื่องบินและรถยนต์ที่สะดวกสบาย ภัตราการ ร้านอาหาร ซึ่งสามารถรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้อย่างพอเพียง
.

4. การท่องเที่ยว
จังหวัดเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของจังหวัดภาคเหนือตอนบน เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งทางด้านทรัพยากรทางการท่องเที่ยว ทั้งทางด้านแหล่งท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติ ประเภทประวัติศาสตร์ โบราณคดีและวัฒนธรรมประเพณี ประชาชนชาวเชียงใหม่มีความภาคภูมิใจในความเป็นมาอันยาวนานของตนเอง ในปี พ.ศ. 2543 ซึ่งเป็นปีขึ้นสหัสวรรษใหม่
.

เชียงใหม่ก็จะมีอายุได้ 704 ปี ชาวเชียงใหม่เป็นคนที่มีนิสัยรักสงบ มีความโอบอ้อมอารี หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสและมีความขยันหมั่นเพียรในการประกอบอาชีพ
.

ปัจจุบันจังหวัดเชียงใหม่มีความเจริญก้าวหน้ามากอาจกล่าวได้ว่าเป็นเมืองหลวงแห่งที่สอง รองจากกรุงเทพฯ มีสถานศึกษาที่ดีตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัยที่จะให้ลูกหลานชาวเชียงใหม่ได้เลือกเข้าศึกษา และโดยเฉพาะการท่องเที่ยวที่ทำรายได้ให้กับประชาชนเชียงใหม่ อันเกิดจากการที่จังหวัดเชียงใหม่ได้รับขนานนามว่า “กุหลาบงามของเมืองไทย” เนื่องจากมีความงดงามของธรรมชาติ ภูมิอากาศ มีโบราณสถาน โบราณวัตถุอันเก่าแก่ ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมที่เก่าแก่ ล้วนแต่เป็นสิ่งดึงดูดใจของนักท่องเที่ยว
.
ที่มา:http://www.peeso.itgo.com/eco_cm.htm

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ร่วมกันแถลงข่าวการจัดงาน “Chiang Mai Grand Sale 2009"





นายชูชาติ กีฬาแปง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ , นายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ , นายณรงค์ คองประเสริฐ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ , คุณธารทิพย์ ทองงามขำ ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่ และนายวัยรักษ์ วลัยรัตน์ ได้ร่วมกันแถลงข่าวการจัดงาน “Chiang Mai Grand Sale 2009” (ม่วนก๋าย ม๋วนใจ๋ แอ่วเชียงใหม่แกรนด์เซล) เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2552 เวลา 15.00 น. ณ ห้องพิณทอง โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว เพื่อประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้นักท่องเที่ยวได้เดินทางมาเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงใหม่ และเป็นการสร้างโอกาส ให้กับ ผู้บริโภค โดยที่ผู้ประกอบการ ห้าง ร้าน ในจังหวัดเชียงใหม่ ได้ร่วมกันจัดโปรโมชั่น ลดราคาสินค้าและบริการลงถึง 30 – 70% ในระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม 2552 ถึง 2 สิงหาคม 2552 ซึ่งจะมีพิธีเปิดงานดังกล่าวในวันที่ 31 พฤษภาคม 2552 ณ บริเวณอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ www.cm_grandsale.com

ตัวแทนชมรมครูอาวุโสฯ มอบช่อดอกไม้ร่วมแสดงความยินดีกับคุณณรงค์ คองประเสริฐ

141 (งานประสานสัมพันธ์ศิษย์เก่าและครูอาวุโส /- ) 10/03/2009 [15:31:06] [68]

ตัวแทนชมรมครูอาวุโสฯ มอบช่อดอกไม้ร่วมแสดงความยินดีกับคุณณรงค์ คองประเสริฐ

เมื่อวันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2552 ตัวแทนชมรมครูอาวุโสโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ได้แก่ มาสเตอร์มานพ พิสุทธิพันธ์พงศ์ ประธานชมรมครูอาวุโสฯ และมาสเตอร์โกวิท นำลาภ รองประธานกรรมการชมรมครูอาวุโสฯ มอบช่อดอกไม้ร่วมแสดงความยินดีกับคุณณรงค์ คองประเสริฐ ที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่

Resource:http://www.montfort.ac.th/applications/address/viewNewsDetail.php?sid=141

พันธกิจ นโยบาย และแผนการดำเนินงาน หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่



พันธกิจ นโยบาย และแผนการดำเนินงาน
หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สมัยที่ 17
ประจำปี 2552-2553
.
หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ในฐานะที่เป็นองค์กรตัวแทนของภาคเอกชนทางธุรกิจ และเป็นสถาบันที่ได้รับการยอมรับในจังหวัดเชียงใหม่ ตลอดระยะเวลา 32 ปี ที่ผ่านมา หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ได้ทำหน้าที่ และดำรงบทบาทส่งเสริมการดำเนินธุรกิจของสมาชิก ตลอดจนสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ของจังหวัดมาอย่างต่อเนื่องอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในด้านการมีบทบาทในนโยบายสาธารณะ และการจัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยมีคณะกรรมการบริหารสานต่อเจตนารมย์ของผู้ร่วมก่อตั้งมาถึง 17 สมัย ซึ่งปัจจุบันองค์กรหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ได้เติบโต และพัฒนาการทั้งในด้านองค์กร และบุคลากร เพื่อตอบสนองความต้องการของสมาชิก และสังคมของจังหวัดเชียงใหม่อย่างเข้มแข็ง
.
อย่างไรก็ตาม หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ไม่ได้หยุดนิ่ง แต่จะพัฒนาและก้าวไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน ทั้งนี้ การดำเนินงานของหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ในระยะ 2 ปี จึงจะมุ่งเน้นใน 5 พันธกิจหลัก คือ
.
1. เสริมสร้างหอการค้าฯ ให้เข้มแข็ง โดยการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ทั้งในส่วนที่เป็นกรรมการและเจ้าหน้าที่ โดยใช้หลักการทำงานที่มุ่งสู่เป้าหมายตามวิสัยทัศน์- พันธกิจ โดยพัฒนากระบวนการทำงานที่ชัดเจน มีการสื่อสารที่ดี ตลอดจนสร้างบรรยากาศของความร่วมมือภายในองค์กร โดยมุ่งเน้นการทำโครงการที่สอดคล้องทั้งพันธกิจ มิติทางการเงิน และ การพัฒนาเครือข่าย
.
2. ร่วมแรงฟื้นฟูเศรษฐกิจ ในสถานการณ์เศรษฐกิจที่ถดถอยและอยู่ในภาวะวิกฤติในปัจจุบัน การกระตุ้นเศรษฐกิจ และความเชื่อมั่นของนักธุรกิจ เป็นภารกิจแร่งด่วน ที่หอการค้าฯ ให้ความสำคัญ โดยจะเน้นการนำเสนอ ประเด็นยุทธศาสตร์ และโครงการที่แก้ไขปัญหาเชิงรูปธรรมได้ให้แก่ภาครัฐฯ พร้อมกับขยายโอกาสการเข้าถึงความช่วยเหลือภาครัฐ โดยให้ครอบคลุมภาคเศรษฐกิจที่เป็นหัวใจของจังหวัด ได้แก่ด้านการท่องเที่ยว การเกษตร ธุรกิจบริการสุขภาพ และ การค้าการลงทุน นอกจากนี้ หอการค้าฯ ยังจะได้ผลักดันโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐฯ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจในจังหวัดเชียงใหม่ และ กลุ่มจังหวัดในภาคเหนือตอนบน ในระยะยาว ได้แก่การลงทุนก่อสร้างศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ และการพัฒนาการขนส่งระบบราง ตลอดจนการพัฒนาระบบการจัดการด้าน Logistic เพื่อให้สามารถรแข่งขันในตลาดระหว่างประเทศได้
.
3. สนับสนุนมวลหมู่สมาชิก การสนับสนุนสมาชิกเป็นเป้าประสงค์หลักของหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ดังนั้นยุทธศาสตร์และโครงการของหอการค้าฯ จะต้องสอดคล้องกับความต้องการของสมาชิกในภาพรวม หอการค้าฯ จะสนับสนุนให้สมาชิกผนึกกำลังเป็นเครือข่ายความร่วมมือ (Cluster) ของภาคธุรกิจในจังหวัด ตลอดจนสนับสนุนสมาชิกในการพัฒนาขีดความสามารถ โดยการจัดการอบรม สัมมนาให้ความรู้ ทั้งในด้านการผลิต การบริหารจัดการ การเงิน และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการ
.
4. ร่วมมือองค์กรพันธมิตร หอการค้าฯ ตระหนักดีว่า การดำเนินการตามพันธกิจต่างๆ ไม่อาจสำเร็จได้โดยองค์กรหอการค้าฯ เพียงลำพัง จำเป็นจะต้องได้รับความร่วมมือจากองค์กรพันธมิตร ใน 3 ภาคส่วนได้แก่ ภาครัฐ ภาคสถาบันการศึกษา และภาคเอกชน ที่จะทำงานประสานกันเป็นเอกภาพในการดำเนินโครงการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยในภาครัฐฯนั้น หอการค้าฯ จะเป็นเหมือนที่ปรึกษา ที่คอยชี้แนะ และสนับสนุนการทำงานร่วมกันในการฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด ในภาคการศึกษา หอการค้าฯให้ความร่วมมือในการแจ้งความต้องการในการใช้บุคคลากรของภาคธุรกิจ และสำหรับพันธมิตรภาคเอกชน หอการค้าฯจะให้ความร่วมมือสนับสนุนกิจกรรมที่เป็นประโยชน์และสอดคล้องกับพันธกิจร่วมกัน
.
5. ประสานแนวคิด เชียงใหม่นครแห่งชีวิตและความมั่งคั่ง (City of Life and Prosperity) เพื่อให้เชียงใหม่เป็นเมืองที่ให้ความสุข งดงามด้วยวัฒนธรรมล้านนา และมีสิ่งแวดล้อมที่ดี สร้างชีวิตที่มีคุณค่าแก่ผู้อยู่อาศัย และผู้มาเยือน ในฐานะเมืองที่น่าอยู่ และน่าท่องเที่ยวในระดับเอเชีย พร้อมกับเป็นประตูการค้าการลงทุนสู่สากล โดย คณะกรรมการหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สมัยที่ 17 ประจำปี 2552-2553 จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกันว่า “หอการค้าฯ มุ่งมั่นสู่ความเป็นองค์กรภาคเอกชนที่เข้มแข็ง” โดยมีนโยบายที่ได้กำหนดไว้ 5 ด้าน ดังนี้
.

นโยบายที่ 1 เสริมสร้างหอการค้าฯให้เข้มแข็ง มุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพของบุคลากร มีผลงานที่ชัดเจน มีความเข้มแข็งทางการเงิน ด้วยความมุ่งมั่นและการมีส่วนร่วม เพื่อตอบสนองความต้องการของสมาชิกและสังคม


โดยมุ่งมั่นสู่องค์กรภาคเอกชนที่เข้มแข็ง


แนวทาง และแผนการดำเนินงาน


1.การสร้างความเข้มแข็งของบุคลากรของหอการค้าในทุกระดับ อันได้แก่

• คณะกรรมการ โดยการสร้างบรรยากาศการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด พร้อมกับสรรหาและอบรมคณะกรรมการรุ่นใหม่ที่จะเป็นกำลังสำคัญในอนาคต

• การเชิญที่ปรึกษา – บุคลากรที่มีศักยภาพขององค์กรมาร่วมสนับสนุนการทำงานของหอการค้าฯ

• เจ้าหน้าที่หอการค้าฯ มีการจัดโครงสร้างบุคลากรที่เหมาะสมกับปริมาณงาน ทั้งด้านงานประจำ และงานโครงการ , การจัดสวัสดิการที่เหมาะสม และการสรรหาอุปกรณ์ –เครื่องมือที่ทันสมัยมาอำนวยความสะดวกในการทำงาน


2. การยึดหลักการบริหารจัดการที่มุ่งเน้นผลงานที่ชัดเจน โดยมีการวิเคราะห์โครงการให้สอดคล้องกับพันธกิจ-ยุทธศาสตร์ของหอการค้าฯ รวมถึงแผนงบประมาณ/บุคลากร ซึ่งจะมีการกระจายงานความความสามารถ ความพร้อม และการจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจ (Dream Team) พร้อมกับการเผยแพร่บทบาท และผลงานของหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ออกสู่สาธารณชนมากขึ้น โดยการพัฒนาช่องทางการประชาสัมพันธ์ของหอการค้า พร้อมกับแสวงหาช่องทางในการประชาสัมพันธ์รูปแบบใหม่ๆ


3. สร้างความแข็งแกร่งทางการเงินให้แก่หอการค้า โดยการดำเนินกิจกรรมที่สร้างรายได้ให้หอการค้าฯ เป็นประจำทุกปี และดำเนินกิจกรรมที่ไม่เป็นภาระทางการเงินกับหอการค้าฯ นอกจากนั้นจะได้แสวงหาช่องทางความร่วมมือ – ดำเนินโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงาน องค์กรทั้งใน และต่างประเทศ


4. ปรับปรุงกระบวนการบริหาร-จัดการ โดยเน้นคุณภาพ - มาตรฐานในการให้บริการแก่สมาชิก และสังคม เพื่อให้ได้รับการยอมรับในการเป็นองค์กรภาคเอกชนที่ยอดเยี่ยม


5. ปรับองค์กรให้เป็นศูนย์ข้อมูลทางเศรษฐกิจ เพื่อทำหน้าที่ชี้ทิศทาง และให้คำปรึกษาแก่สมาชิก


นโยบายที่ 2 ร่วมแรงพัฒนาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ เน้นแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเชิงรูปธรรม สร้างความแข็งแกร่งภาคเอกชนที่มีศักยภาพ ชูการกระตุ้นเศรษฐกิจในจังหวัดและผลักดันลงทุนภาครัฐที่กระตุ้นเศรษฐกิจภาพรวม และการมุ่งหาตลาดใหม่ทั้งในและต่างประเทศ


แนวทางและแผนการดำเนินงาน

1. ร่วมกำหนดยุทธศาสตร์และมาตรการในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของจังหวัดและส่วนรวมในทุกเวที ทั้งทางด้าน การท่องเที่ยว, เกษตร – เกษตรอุตสาหรรม ,ระบบโลจิสติกส์ อันเป็นพื้นฐานเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัด

2. การเป็นเจ้าภาพหลักในการผลักดันยุทธศาสตร์ Logistic ของจังหวัดโดยมีเป้าหมายให้เกิดโครงการบริหารจัดการระบบ Logistic เชียงใหม่(Chiang Mai Logistic Housing Bureau) หรือ โลจิสติกส์พาร์คในอนาคต โดยผ่านโครงการด้านการพัฒนาบรรจุหีบห่อ ,การสร้างเครือข่าย,ฐานข้อมูล และการพัฒนาบุคลากร

3. การจัดโครงการที่ส่งเสริมการค้า การลงทุนของจังหวัด ได้แก่ โครงการจัดงานขับเคลื่อนพลังเศรษฐกิจจังหวัดเชียงใหม่ หรือ GMS Expo และการจัด Roadshow ไปยังประเทศกลุ่มเป้าหมายหรือเป็นเมืองพี่เมืองน้องของจังหวัดเชียงใหม่ รวมถึงหอการค้าคู่มิตร เช่น หอการค้าฯ ลียง ประเทศฝรั่งเศส, หอการค้า และสภาอุตสาหกรรมมณฑลยูนนาน, กว่างซี, เสฉวน ของจีน เป็นต้น และผลักดันศูนย์กระจายสินค้าที่นครคุนหมิงให้เป็นรูปธรรม

4. การเสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่ภาคธุรกิจการท่องเที่ยวที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัด โดยการนำเสนอโครงการที่จะสนับสนุนผู้ประกอบการ เช่น โครงการกระตุ้นการตลาดการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัด, โครงการพัฒนาการตลาดและการท่องเที่ยวแบบระยะยาว (Long Stay), การจัดทำโครงการเชียงใหม่ Grand Sale, โครงการจัดประชุมหอการค้าทั่วประเทศ เป็นต้น

5. การส่งเสริมผลักดันให้มีการจับคู่ทางธุรกิจ (Business Matching) ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

6. การผลักดันการลงทุนภาครัฐที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจในภาพรวม เช่น โครงการศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ , โครงการรถไฟรางคู่ – ความเร็วปานกลาง, โครงการ Logistics Park ,โครงการขนส่งมวลชนภายในตัวเมืองเชียงใหม่ เป็นต้น

7. การขยายโอกาสการเข้าถึงความช่วยเหลือภาครัฐที่เร่งกระตุ้นเศรษฐกิจ และแก้ไขปัญหาของผู้ประกอบการภาคธุรกิจ เช่น โครงการมหกรรมเงินทุนกระตุ้นเศรษฐกิจ, โครงการ Business Clinic, โครงการแก้ไขปัญหาแรงงาน เป็นต้น

8. การมีส่วนร่วมในการพัฒนาศูนย์บริการข้อมูลด้านการค้าการลงทุนของจังหวัดเชียงใหม่ หรือ (Trade Investment Service Center) ของเชียงใหม่ที่ได้ก่อตั้งขึ้นแล้วให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการนำมาใช้ในภาคธุรกิจ และก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มในทางการค้า – การลงทุนของจังหวัดเชียงใหม่ในภาพรวมระยะยาว

9. การพัฒนาขีดความรู้ความสามารถของผู้ประกอบการในจังหวัดเชียงใหม่ให้เกิดความรู้ใหม่ในสาขาที่ครอบคลุมและผู้ประกอบการมีความต้องการ

10. การจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจของหอการค้า เพื่อศึกษาและทำงานร่วมกับภาครัฐ


นโยบายที่ 3 สนับสนุนมวลหมู่สมาชิก ให้ผนึกกำลังเป็นเครือข่ายความร่วมมือ (Cluster) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของสมาชิกหอการค้า และผู้ประกอบธุรกิจในจังหวัดเชียงใหม่ ให้มีความเข้มแข็ง สามารถยืนหยัดและแข่งขันได้ ทั้งในระดับภูมิภาค ระดับประเทศ ระหว่างประเทศ


แนวทางและแผนการดำเนินงาน

1. การรณรงค์เพิ่มสมาชิกของหอการค้าในครบในทุกวิสาหกิจ และในทุกอำเภอ เพื่อการดำรงบทบาทเป็นตัวแทนของวิสาหกิจในทุกประเภท โดยจะรักษาฐานสมาชิกเก่า และการสรรหาสมาชิกใหม่ไปแบบคู่ขนานโดยมีกิจกรรมที่สำคัญ เช่น
• การจัดงานสังสรรค์
• การจัดโครงการทัศนศึกษาดูงานในต่างประเทศ
• การให้ความสำคัญการสื่อสารประชาสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดทั้งด้าน เว็บไซต์, วารสาร, จดหมายข่าว, รายการวิทยุ และจดหมายอิเล็คทรอนิกส์

2. จัดโครงการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของสมาชิก ที่ตรงกับความต้องการ โดยหอการค้าฯ จะเชื่อมโยงกับองค์กรที่มีองค์ความรู้ เช่น โครงการด้านนวตกรรม ของเครือข่ายนวัตกรรม, โครงการพัฒนาเทคโนโลยีและสารสนเทศ, การพัฒนาด้านบริการ-จัดการ, การพัฒนาด้านการผลิต , การพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับโลจิสติกส์ , และการให้ความรู้ด้านภาษีและการบัญชี ภายใต้โครงการ Tax up to Date เป็นต้น

3. การจัดโครงการผู้ประกอบการยอดเยี่ยมแต่ละสาขาในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นการกระตุ้น การพัฒนาธุรกิจ การบริการให้ได้มาตรฐานและเป็นแบบอย่างที่ดีทางธุรกิจของจังหวัดต่อไป

4. เป็นองค์กรผู้ประสานงานในการขยายเครือข่ายความร่วมมือของสมาชิก-ผู้ประกอบการ

5. สร้างโอกาส และรายได้ใหม่ให้แก่สมาชิก โดยใช้นวัตกรรม (Innovation) เช่น โครงการเครือข่ายนวัตกรรมของหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่

6. โครงการจัดฐานข้อมูลสมาชิกให้เป็นระบบ ปรับปรุงข้อมูลสมาชิก – วิสาหกิจ และรวบรวมข้อมูลในเชิงลึกในธุรกิจแต่ละสาขา เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้ในการวางแผน และกำหนดยุทธศาสตร์ของธุรกิจ เพื่อการแข่งขัน

7. สร้างจิตสำนึก ด้านจรรยาบรรณทางธุรกิจ และความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR :Corporate Social Responsibility)


นโยบายที่ 4 ร่วมมือองค์กรพันธมิตร ทั้งภาครัฐ ภาคสถาบันการศึกษา และภาคเอกชน ที่จะทำงานประสานกันเป็นเอกภาพในการดำเนินโครงการพัฒนาเศรษฐกิจ ในลักษณะร่วมคิด ร่วมงานและร่วมใจ


แนวทางและแผนการดำเนินงาน

1. ร่วมกำหนดแนวทางการพัฒนา และดำเนินโครงการ-กิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาภาคเศรษฐกิจของจังหวัดกับภาครัฐ ภาคการศึกษา และองค์กรเอกชนในทุก ๆ ระดับ ทั้งในระดับจังหวัด ภูมิภาค และระดับประเทศ ในลักษณะร่วมคิด ร่วมงานและร่วมใจ เช่น โครงการพัฒนาฝีมือแรงงาน และบุคลากรที่ตรงกับความต้องการของตลาด เป็นต้น

2. กระชับความสัมพันธ์และการทำงานร่วมกันของคณะกรรมการร่วม

3 สถาบัน (กกร.)3. สนับสนุนโครงการ/ กิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับ SMEs ผ่านหน่วยงานบริการเครือข่ายวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคเหนือ (Northern Network Service Provider for Small and Medium Enterprises : NNSPSME)

4. สานต่อ และสนับสนุนการเป็นหอการค้าคู่มิตรกับหอการค้าทั้งใน และต่างประเทศ เพื่อเป็นการขยายความ ร่วมมือทางการค้าในระดับจังหวัด และในระดับประเทศ

5. สร้างความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสื่อมวลชน โดยพัฒนาแนวทางการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกับสื่อมวลชนที่ทันสมัย-และเป็นข้อมูลที่ได้รับความเชื่อมั่น – เชื่อถือได้


นโยบายที่ 5 ประสานแนวคิด เชียงใหม่นครแห่งชีวิตและความมั่งคั่ง (City of Life and Prosperity) เพื่อให้เชียงใหม่เป็นเมืองแห่งวัฒนธรรมและมีสิ่งแวดล้อมที่ดี ให้ความสุขและชีวิตที่มีคุณค่าแก่ ผู้อยู่อาศัย และผู้มาเยือน ในฐานะเมืองที่น่าอยู่ และน่าท่องเที่ยวในระดับเอเชีย พร้อมกับเป็นประตูการค้าการลงทุนสู่สากล


แนวทางและแผนการดำเนินงาน

1. ผลักดันยุทธศาสตร์ให้ เชียงใหม่เป็นนครแห่งชีวิตและความมั่งคั่ง (City of Life and Prosperity) ผ่านแผนงานพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ในระยะ 4 ปี (2553-2556)

2. มุ่งเน้นความสำคัญในการพัฒนาผังเมืองจังหวัดเชียงใหม่ให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงและความต้องการของประชาชนชาวเชียงใหม่ และไม่สร้างผลกระทบต่อภาคธุรกิจส่วนรวมในอนาคต

3. การรักษาประเพณี วัฒนธรรมที่เป็นเสน่ห์ และมูลค่าเพิ่มของจังหวัดเชียงใหม่ เช่น โครงการพิธีดำหัวปี๋ใหม่เมืองของภาคเอกชน การร่วมอนุรักษ์การแต่งกายผ้าเมือง เป็นต้น

4. การร่วมรักษาและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่เกิดขึ้นจังหวัดเชียงใหม่ เช่น ปัญหาหมอกควันในช่วงฤดูแล้ง, ปัญหาภูมิทัศน์ของเมือง เป็นต้น

5. การเป็นเจ้าภาพหลักในยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ เช่น พัฒนาในเรื่องพลังงาน โลจิสติกส์ ค้าส่ง – ค้าปลีก และการเพิ่มผลผลิต

6. การเพิ่มขีดความสามารถด้านการค้าชายแดน และการค้าอนุภูมิภาคในเขตภาคเหนือตอนบน

Resource:http://www.chiangmaichamber.com/?name=news&file=readnews&id=97

วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เริ่มเปิดจุดผ่อนปรนเพื่อการค้าชายแดนไทยพม่ากิ่วผาวอกตั้งแต่ 31 ม.ค.51 เป็นต้นไป


เริ่มเปิดจุดผ่อนปรนเพื่อการค้าชายแดนไทยพม่ากิ่วผาวอกตั้งแต่ 31 ม.ค.51 เป็นต้นไป

ศูนย์สั่งการชายแดนไทย-พม่า เห็นชอบให้เปิดจุดผ่อนปรนชายแดนชั่วคราวกิ่วผาวอก อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ 31 ม.ค. 51 เป็นต้นไปทุกวันพฤหัสบดี ศุกร์และเสาร์ สัปดาห์ละ 3 วัน
.
นายชุมพร แสงมณี ปลัดจังหวัดเชียงใหม่ ในฐานะคณะทำงานกลุ่มภารกิจด้านความมั่นคงของจังหวัดเชียงใหม่แจ้งว่า ขณะนี้ศูนย์สั่งการชายแดนไทย-พม่า ได้อนุมัติให้มีการเปิดจุดผ่อนปรนชายแดนไทย-พม่า ชั่วคราวกิ่วผาวอก หมู่ 10 บ้านอรุโณทัย ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม 2551 เป็นต้นไป โดยเปิดสัปดาห์ละ 3 วันคือ พฤหัสบดี ศุกร์ และเสาร์ ระหว่างเวลา 06.00 – 18.00 น. เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎร และส่งเสริมเศรษฐกิจด้านการค้าชายแดนไทย-พม่า
.
สำหรับเงื่อนไขการดำเนินการและการซื้อขายนั้นได้กำหนดว่า สินค้าทั่วไปซื้อขายได้ไม่เกินวันละ 500,000 บาท ยกเว้นนิติบุคคลซื้อขายได้ไม่จำกัด พื้นที่ซื้อขายประมาณ 200 ไร่ อยู่ในฝั่งไทยห่างจากเขตชายแดนไม่เกิน 200 เมตร ห้ามชาวพม่าเข้ามาเกินหลักเขตพื้นที่นั้น โดยมีหน่วยงานต่าง ๆ รับผิดชอบดูแลได้แก่ ด่านตรวจคนเข้าเมืองเชียงใหม่ทำหน้าที่ควบคุมบุคคลและยานพาหนะเข้าออก ด่านศุลกากร อ.เชียงดาว รับผิดชอบดูแลรถขนถ่ายสินค้า กำลังตำรวจและอาสาสมัครของอำเภอเชียงดาว ทำหน้าที่ควบคุมไม่ให้มีการออกนอกพื้นที่เพื่อป้องกันการหลบหนีเข้าเมือง
.
สำหรับจุดผ่อนปรนชายแดนไทย-พม่ากิ่วผาวอก เดิมได้เปิดให้มีการซื้อขายสินค้าเพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจระหว่างไทยกับพม่า แต่ได้ปิดไปตั้งแต่ปี 2544 เมื่อครั้งเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในพม่า ซึ่งขณะนี้หลายฝ่ายเห็นว่าเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ประกอบกับได้รับการร้องขอจากนักธุรกิจและประชาชนในพื้นที่ ศูนย์สั่งการชายแดนไทย-พม่า พิจารณาแล้วจึงได้อนุญาตให้เปิดได้ ทั้งนี้มีการคาดการณ์ว่าจะมีเงินหมุนเวียนซื้อขายบริเวณดังกล่าวเดือนละกว่า 50 ล้านบาท โดยสินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปยังพม่าคือสินค้าอุปโภค บริโภค ขณะที่สินค้านำเข้าจากพม่าคือโค กระบือและสินค้าเกษตร

.
30 มกราคม 2551 , 17:02 น.
ข่าวโดย พยนต์ ยศสุพรหม สวท. เชียงใหม่

พม่ายังไม่เปิดจุดผ่อนปรนชายแดนกิ่วผาวอกในวันแร



พม่ายังไม่เปิดจุดผ่อนปรนชายแดนกิ่วผาวอกในวันแรก

พ่อค้า แม่ค้าชาวไทยกว่าร้อยรายต้องผิดหวังเมื่อพม่าไม่ยอมเปิดประตูให้ทำการซื้อขายที่จุดผ่อนปรนชายแดนชั่วคราวกิ่วผาวอกในวันแรกของกำหนดเปิด โดยอ้างรอคำสั่งจากหน่วยเหนือวันแรกของการกำหนดเปิดจุดผ่อนปรนทางการค้าชายแดนชั่วคราว กิ่วผาวอก บ้านอรุโณทัย ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ปรากฏว่าบรรดาพ่อค้าแม่ค้าชาวไทยกว่าร้อยรายที่นำสินค้าไปจำหน่ายต้องพบกับความผิดหวัง เมื่อทางการพม่าไม่ยอมเปิดประตูให้ประชาชนชาวพม่ามาซื้อสินค้าไทย โดยอ้างรอคำสั่งจากหน่วยเหนือ โดยกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าชาวไทยต่างกล่าวอย่างมีความหวังว่าคงจะมีการเปิดด่านในไม่ช้า ขณะที่ฝั่งไทยนั้นได้เตรียมพร้อมทุกด้านสำหรับการเปิดด่าน มีการทำสถานที่กักสัตว์ หน่วยงานศุลกากร สาธารณสุข และองค์กรในพื้นที่ต่างเตรียมพร้อมทั้งตำรวจและทหาร แต่ฝั่งพม่ายังคงปิดประตูไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆ ขณะที่ได้มีฝนตกอย่างหนัก
นายวิชิต บุญกังวาน นายอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ทางการพม่าคงจะรอดูท่าทีของไทยและปรึกษาหารือก่อนจะพิจารณาเปิดด่าน ทั้งนี้ไทยได้แจ้งในที่ประชุมคณะกรรมการร่วมท้องถิ่นไทย-พม่าเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาว่าไทยจะเปิดด่านวันนี้เป็นต้นไปโดยไทยก็จะเปิดด่านรอจนกว่าพม่าจะเปิดด่านเพื่อการไป-มาหาสู่ระหว่างประชาชนสองประเทศ
สำหรับจุดผ่อนปรนชายแดนชั่วคราวกิ่วผาวอกนั้นปิดตั้งแต่ปี 2545 เนื่องจากปัญหาความไม่สงบภายในของพม่าเอง โดยก่อนปิดด่านมีมูลค่าการซื้อขายถึงปีละกว่า 300 ล้านบาท เฉลี่ยเดือนละกว่า 30 ล้านบาท สินค้าไทยที่นำไปขายให้พม่าคือสินค้าอุปโภค-บริโภค วัสดุก่อสร้าง น้ำมันเชื้อเพลิง และพืชผลทางการเกษตร ขณะที่พม่านั้นจะมีสินค้าหลักคือ โค กระบือ และของป่า ไทยได้เปรียบดุลการค้าพม่าที่จุดผ่อนปรนกิ่วผาวอกนี้ ขณะที่ราษฎรของพม่าหลายเมืองต้องการซื้อของที่จุดนี้เนื่องจากอยู่ไกลจากด่านแม่สายซึ่งต้องใช้เวลาเดินทาง 2-3 วันเพื่อไปซื้อสินค้า
ข่าวโดย : ธนวันต์ ชุมแสง สวท.เชียงใหม่
หน่วยงาน : สวท.เชียงใหม่



ข่าว : สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 เชียงใหม่
1 กุมภาพันธ์ 2551 / 16:25:38

ไทยเปิดด่านกิ่วผาวอก-เชียงดาวกระตุ้นเศรษฐกิจชายแดนสองประเทศ

ไทยเปิดด่านกิ่วผาวอก-เชียงดาวกระตุ้นเศรษฐกิจชายแดนสองประเทศ

แนวหน้า
2008-02-02 00:00:00

เชียงราย
:นายวิชิต บุญกังวัน นายอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ พ.อ.สมเกียรติ มาลกร รอง.ผู้บังคับการกรมทหารม้าที่ 2 กองกำลังผาเมือง เป็นประธานร่วมกันเปิดด่านกิ่วผาวอก ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ อย่างเป็นทางการ โดยมีตำรวจตรวจคนเข้าเมือง กรมศุลกากร ตำรวจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการเปิดด่านครั้งนี้จำนวนมาก
.
นอกจากนี้ยังพ่อค้าแม่ค้าที่เตรียมนำของไปจำหน่ายจุดเปิดด่าน โดยมากันตั้งแต่เช้ามืดเพื่อรอประชาชนชาวพม่าเดินทางมาซื้อของจากไทย แต่ขณะที่ฝ่ายพม่ายังเงียบเหงามีเพียงเจ้าหน้าที่ทหารเดินสังเกตการณ์ ในฐานทหารในฝังพม่าเพียงไม่กี่คน
.
นายวิชิต บุญกังวัน กล่าวว่า ด่านกิ่วผาวอก ทั้งสองประเทศสั่งปิดด่านเมื่อมี 2546 เนื่องจากมีปัญหาหลายด้าน ส่วนพม่าเองก็ประสบปัญหาทางการเมืองของเขาในตอนนั้น แต่ขณะนี้ฝั่งไทยพร้อมที่จะเปิดให้ประชาชนทั้งสองประเทศ มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันเช่นเดิม โดยจะเปิดอาทิตย์ละ 3 วันคือ วันพฤหัสบดี ศุกร์ และเสาร์ เริ่มตั้งแต่เวลา 06.00 น.- 18.00 น.
.
ส่วนปัญหาที่ไทยเกรงว่าจะพบเหมือนเช่นในอดีตที่ผ่านมาเมื่อเปิดด่านแล้ว คือปัญหาการลักลอกเข้าเมือง และปัญหาการลำเลียงยาเสพติด ส่วนการค้าขายของทั้งสองประเทศเราก็สนับสนุนให้มีการค้าอย่างปกติสุข สำหรับมูลค้าทางการค้าเมื่อในอดีตที่ผ่านมา ไทยได้ส่งสินค้าออกปีละ 300 ล้านบาท และนำเข้าปีละ 100 ล้านบาท

Resource:http://vivaldi.cpe.ku.ac.th/~note/newscrawler/view_news.php?id=377428

ตองยี

ตองยี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความนี้มีเนื้อหาที่สั้นมาก ต้องการเพิ่มเติมเนื้อหา

ตองยี
.
ตองยี(Taunggyi) หรือ ตองจี (ภาษาไทใหญ่เรียกว่าต่องกี) เป็นเมืองหลวงของรัฐฉาน ในประเทศพม่า ห่างจาก อ.แม่สาย จ.เชียงราย ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 480 กิโลเมตร ตั้งอยู่บนภูเขาสูง เนื้อที่ประมาณ 24 ตารางกิโลเมตร อากาศค่อนข้างเย็นตลอดปี เพราะที่นี่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 4,712 ฟุต
.
เมืองตองยีหรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ “เมืองตองคัง” และเมืองนี้เป็นเมืองที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้มาตีเมืองกับพระมหาอุปราชและเจ้าเมืองแปร

.
ปัจจุบันตัวเมืองขยายออกไปเพราะความเจริญทางการค้า สองฟากถนนเป็นตึกแถวแบบต่างจังหวัดของไทย บริเวณที่อยู่ศัยมีต้นไม้เขียวชอุ่ม ดอกไม้เมืองหนาว
.
รัฐฉานอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพม่า เป็นรัฐสำคัญรัฐหนึ่ง ในจำนวนรัฐทั้งเจ็ดของสหภาพพม่า นอกจากชนเผ่าไทใหญ่ ก็มีชนเผ่าต่าง ๆ เช่น ปะโอ ปะหล่อง เป็นต้น

.
ในประวัติศาสตร์ที่ชาวพม่าเขียนกล่าวว่า พวกไทใหญ่เข้ามามีอิทธิพลในเขตภูเขาสูงทางตะวันออก ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นพวกที่ทำนาและนับถือศาสนาพุทธ มีระบบการปกครองแบบเจ้าเมืองที่สืบทอดมรดกถึงลูกหลาน แต่ปัจจุบันนี้อำนาจของเจ้าได้เสื่อมไป เพราะอำนาจของรัฐบาลท้องถิ่นเข้ามาแทนที่

รัฐฉาน

รัฐฉาน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐฉาน(ไทใหญ่: เมิ้งไต๊) หรือ รัฐไทใหญ่ เป็นรัฐหนึ่งในสหภาพพม่า


สภาพภูมิศาสตร์
.
ลักษณะภูมิประเทศของรัฐฉานเต็มไปด้วยภูเขาสูงและผืนป่า พื้นที่เต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่า สินค้าส่งออกที่สำคัญของรัฐฉานจึงเป็นจำพวกแร่ธาตุและไม้ชนิดต่างๆ
รัฐฉานมีตำแหน่งที่ตั้ง ดังนี้
.
ทิศตะวันออก ติดกับ แขวงหลวงน้ำทา และ แขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว
.
ทิศตะวันตก ติดกับ ภาคสะกาย และ ภาคมัณฑะเลย์
.
ประวัติ
.
ลักษณะภูมิประเทศของรัฐฉานเต็มไปด้วยภูเขาสูงและผืนป่า รัฐฉานจึงเต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่า สินค้าส่งออกที่สำคัญของรัฐฉานจึงเป็นจำพวกแร่ธาตุและไม้ชนิดต่างๆ ปัจจุบันรัฐฉานเป็นส่วนหนึ่งของประเทศพม่า มีชายแดนติดกับประเทศไทยด้านตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐ
.
รัฐฉาน ในอดีตกาลมีชื่อเรียกว่า “ไต” หรือที่เรียกกันว่า เมืองไต มีประชากรหลายชนชาติและอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข โดยมีชนชาติไทยใหญ่อาศัยอยู่มากที่สุด เมืองไตเคยมีเอกราชในการปกครองตนเองมาเป็นเวลาหลายพันปี ก่อนที่อังกฤษจะขยายอิทธิพลเข้ามาถึง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเมืองไตกับพม่าในอดีตนั้นจัดเป็นอิสระต่อกัน หรือกล่าวได้ว่าเป็นคนละอาณาจักรกัน เหมือนดั่งอาณาจักรอยุธยากับอาณาจักรเขมร
อาณาเขตของเมืองไตประกอบด้วยเมืองรวมทั้งหมด 33 เมืองแต่ละเมือง ปกครองด้วยระบบเจ้าฟ้าสืบต่อเนื่องกันมาตั้งแต่อดีต และถึงแม้จะมีเจ้าฟ้าปกครองหลายเมือง แต่ทุกเมืองก็รวมกันเป็นแผ่นดินชนชาติไต เนื่องมาจากที่ตั้งของเมืองไตอยู่ใกล้กับประเทศพม่า
.
เมืองไตกับประเทศพม่ามีการติดต่อค้าขายช่วยเหลือ และให้ความเคารพซึ่งกันและกันมาโดยตลอด เห็นได้จากในช่วงที่เจ้าฟ้าเมืองไตปกครองประเทศพม่าประมาณเกือบ 300 ปีไม่เคยมีการสู้รบกันเกิดขึ้น และยังมีการติดต่อค้าขายยังดำเนินไปอย่างสันติสุขเช่นกัน จนกระทั่งมาถึงสมัยบุเรงนอง ได้มีการสู้รบกันกับเจ้าฟ้าเมืองไตกับกษัตริย์พม่าเกิดขึ้น โดยฝ่ายเจ้าฟ้าเมืองไตเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ จึงทำให้ราชวงศ์เจ้าฟ้าบางเมือง ต้องจบสิ้นไปดังเช่นราชวงศ์เจ้าฟ้าเมืองนายซึ่งเป็นราชวงศ์ของกษัตริย์มังราย นอกจากนี้ยังมีอีกหลายราชวงศ์ที่ต้องสูญสิ้น ไปเพราะการสู้รบกับบุเรงนอง
.
จนมาถึงในสมัยพระเจ้าอลองพญา (พ.ศ. 2305 – 2428) ซึ่งเป็นสมัยที่อยุธยาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า กษัตริย์พม่าได้ทำการปราบปรามราชวงศ์ หรือผู้สืบเชื้อสายของเจ้าฟ้าไทใหญ่จนหมดสิ้นไปเป็นจำนวนมาก อาจกล่าวได้ว่าไตได้เป็นเมืองขึ้นของพม่าไปแล้ว และในช่วงเวลานี้ทหารพม่าได้เริ่มการกดขี่ข่มเหงทำร้ายคนไต ทำให้คนไตรู้สึกเกลียดชังคนพม่านับตั้งแต่นั้น
.
เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2428 อังกฤษได้ทำการจับกุมและยึดอำนาจกษัตริย์พม่า และขยายอาณาเขตไปยังเมืองเชียงตุงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองไตในปีเป็นเมืองขึ้น พ.ศ. 2433 และได้ประกาศว่า"อังกฤษได้ยึดเอาเมืองไตเรียบร้อยแล้ว"
.
เนื่องจากประเทศพม่าซึ่งตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มและเมืองไต ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาไม่ใช่ประเทศเดียวกัน อังกฤษจึงไม่ได้ทำการเข้ายึดพร้อมกันและถึงแม้อังกฤษ จะยึดทั้งสองเมืองเป็นเมืองขึ้นของต้นแต่อังกฤษก็ไม่ได้ปกครองทั้งสองเมืองในลักษณะเดียวกัน หากแบ่งการปกครองออกเป็นสองลักษณะ คือประเทศพม่าเป็นเมืองใต้อาณานิคม ส่วนเมืองไตเป็นเมืองใต้การอารักขา
.
และอังกฤษยัง ได้ทำการจับกุมกษัตริย์พม่าและกำจัดราชวงศ์ทั้งหมดของกษัตริย์พม่า ส่วนเมืองไตอังกฤษไม่ได้ทำลายราชวงศ์เจ้าฟ้า อีกทั้งยังสนับสนุนให้เจ้าฟ้าแต่ละเมือง มีอำนาจปกครองบ้านเมืองของตนเอง และได้สถาปนาให้เมืองทั้งหมดเป็นสหพันธรัฐฉานขึ้นกับอังกฤษ มิได้เป็นส่วนหนึ่งของพม่าแต่อย่างใด
ช่วงหลัง
สงครามโลกครั้งที่ 2 ทางการพม่าพยายามโน้มน้าวเหล่าบรรดาเจ้าฟ้าไต ให้เข้าร่วมเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ เจ้าฟ้าไตจึงได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาปางโหลง เมื่อปี พ.ศ. 2490 กับชาวพม่าและกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เพื่อขอเอกราชจากอังกฤษ โดยสัญญาดังกล่าวได้นำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งระบุให้ชนชาติที่ร่วมลงนามในสัญญา สามารถแยกตัวเป็นอิสระได้หลังจากอยู่ร่วมกันครบสิบปี
.
แต่เมื่ออังกฤษได้ให้เอกราชกับพม่าและไตแล้ว รัฐบาลกลางพม่าไม่ยอมทำตามสัญญา และพยายามการรวมดินแดนให้เป็นของประเทศพม่า เหตุนี้จึงทำให้ชาวไตหรือไทยใหญ่ จึงก่อตั้งกองกำลังกู้ชาติของตนเองขึ้นในปี พ.ศ. 2491
.
ทางรัฐบาลทหารพม่าได้ใช้ระบอบเผด็จการทหารกับชาวไต อีกทั้งยังได้ทำลายพระราชวังของไทยใหญ่ ในเมืองเชียงตุงและอีกหลายเมือง และเข้ามาจัดการศึกษาเกี่ยวกับพม่าให้แก่เด็กในพื้นที่ รัฐบาลทหารพม่าได้บังคับให้ประชาชนกว่า 3 แสนคนย้ายที่อยู่ ประชาชนมักถูกเกณฑ์ไปบังคับใช้แรงงาน ทั้งโครงการก่อสร้างและเป็นลูกหาบอาวุธให้ทหาร ทำให้มีผู้ลี้ภัยจำนวนมากหนีเข้ามายังประเทศไทย
.
ปัจจุบันสถานการณ์ภายในรัฐฉานก็ยังไม่มีเสถียรภาพทางความมั่นคงเท่าใดนัก และก็ยังมีกองกำลังกู้ชาติของตนเองอยู่ หากในช่วงที่ไม่มีการปะทะกับฝ่ายรัฐบาลทหารพม่า รัฐฉานก็จะมีความเงียบสงบซึ่ง เป็นพื้นฐานความต้องการที่แท้จริงของ ชาวไตหรือไทใหญ่ และพวกเขายังหวังลึกๆว่าสักวันหนึ่งรัฐฉานจะได้เป็นเอกราชของตนเอง ไม่ขึ้นกับทางพม่าอีกต่อไป
แผนที่รัฐฉาน แสดงเขตรัฐกิจระดับแขวง
การปกครอง
.
พื้นที่ 60,155 ตารางไมล์ แบ่งการปกครองเป็น 11 แขวง (ခ႟ုိင္) 54 เมือง (႓မိႂႚနယ္) 193 ตำบล
ประชากร

ประชากร 4.7 ล้านคน
ความหนาแน่น 75 คน/ตารางไมล์
เชื้อชาติ
ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของ
ไทใหญ่นอกจากนั้นก็จะมีชาวพม่า ชาวจีน ชาวกะฉิน ชาวดนู ชาวอินทา ชาวปะหล่อง ชาวปะโอ ชาวพม่าเชื้อสายอินเดีย ชาวกะหรี่ยง ชาวไทลื้อ ชาวคำตี่ ชาวไทดอย เป็นต้น
ศาสนา
ประชากรส่วนใหญ่จะนับถือ
ศาสนาพุทธ รองลงมาจะเป็นศาสนาคริสต์ซึ่งมีอิทธิพลมากในหมู่ชาวเขา ศาสนาอิสลามในหมู่ชาวอินเดีย และฮ่อ ศาสนาฮินดูในหมู่ชาวอินเดีย และศาสนาพื้นเมืองเดิมดั้งเดิมในหมู่ชาวเขาที่ล้าหลัง

ชาวอรุโณทัยทำบุญถวายสมเด็จพระพี่นางฯ

ชาวอรุโณทัยทำบุญถวายสมเด็จพระพี่นางฯ
.
ชาวไทยเชื้อสายจีนยูนาน บ้านอรุโณทัย เชียงใหม่ จัดพิธีทำบุญถวาย สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เพื่อถวายความอาลัยแด่พระองค์ 3 ศาสนาชาวไทยเชื้อสายจีน ตลอดจนนักเรียน ,ชาวไทยภูเขา และตัวแทนส่วนราชการในหมู่บ้านอรุโณทัย อำเภอเชียงดาว เชียงใหม่กว่าพันคน นำโดยนายจิระเดช ทวีอภิรดีกิตติ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 ตำบลเมืองนะ ร่วมประกอบพิธีทำบุญ ถวายสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่โรงเรียนอรุโณทัย อำเภอเชียงดาว เชียงใหม่
.

โดยประกอบพิธีกงเต็ก ตามประเพณีของชาวจีนยูนาน นอกจากนี้ยังได้ประกอบพิธีตามคริสตศาสนา โดยกล่าวสดุดีพระคุณของพระองค์ , ถวายเพลงโดยคริสตจักรอรุโณทัย รวมทั้งอธิฐานจิต เพื่อถวายการไว้อาลัยและแสดงถึงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงมีต่อชาวบ้านอรุโณทัย ทั้งการนำหน่วยแพทย์เคลื่อนที่มาช่วยเหลือ , ส่งเสริมการศึกษาเด็กด้อยโอกาส รวมทั้งเอื้อเฟื้อทรัพย์ส่วนพระองค์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ และสุดท้ายได้นิมนต์พระสงฆ์ 9 รูป มาประกอบพิธีทำบุญถวาย ตามพุทธศาสนา นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมพิธียังได้ร่วมกันลงนามถวายความอาลัยอีกด้วย
.

นายจิระเดช ทวีอภิรดีกิตติ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 ตำบลเมืองนะ กล่าวว่าสาเหตุที่ประกอบพิธีทั้ง 3 ศาสนา เนื่องจากประชากรในบ้านอรุโณทัย กว่าหมื่นคน เป็นชายไทยเชื้อสายยูนานกว่าร้อยละ 70 ที่เหลือเป็นชาวไทยภูเขาเผ่าต่าง ๆ นับถือหลายศาสนา ซึ่งชาวบ้านอยากจะเดินไปร่วมถวายความอาลัยที่พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร แต่ชาวบ้านมีสัญชาติไทยและบัตรประชาชนเพียงพันกว่าราย เกรงว่าการเดินทางออกนอกพื้นที่จะมีปัญหา คณะกรรมการหมู่บ้านจึงจัดพิธีดังกล่าวในหมู่บ้านอรุโณทัย
.

ข่าวโดย : เอนก จินดาหลวง/สทท.11 เชียงใหม่
.

หน่วยงาน : สทท.11 เชียงใหม่
.
Resource:http://www.prdnorth.in.th/ct/news/viewnewsN.php?ID=080309160223

ประวัติชาวจีนยูนานในไทยจากพ่อ

ประวัติชาวจีนยูนานในไทยจากพ่อ
.

พ่อเป็นอดิตทหารจีนคณะชาติ ท่านชอบเล่าให้ฟังตอนเด็ก ว่า “ผู้บังคับบัญชาของพ่อชื่อหลีเหวินฮ้วน ซึ่งมีสมญานามว่า “นายพลหลี” มีภูมิลำเนาเป็นชาวจังหวัดอิ้งเทียน นครนานกิ่ง (อดีตเมืองหลวงของจีน) ช่วงต้นราชวงศ์หมิงบรรพชนได้ติดตามท่านมู่อิ่งเดินทัพมาทางใต้ ลงหลักปักฐานที่หมู่บ้านเย่อสุ่ยถัง อำเภอเจิ้นคัง (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอหยงเต๋อ) มณฑลยูนนาน
.
สมัยญี่ปุ่นเข้ารุกรานจีน ท่านนายพลลีได้มีส่วนร่วมในการต่อต้านญี่ปุ่น เมื่อพรรคคอมมิสต์ได้ปฏิวัติ และเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศจีน ขณะนั้น นายพลลี ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการกองกำลังป้องกัน “อำเภอเจิ้งคัง” โดยขึ้นตรงต่อผู้ว่าราชการมณฑลยูนนาน คือ ท่านผู้ว่า “หลู่ฮั่น” เมื่อเห็นว่าสถาณการณ์ไม่ดีจึงได้พาทหารและอาสาสมัครประมาณพันกว่าคนออกเดินทางไปตั้งหลักอยู่แถวชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน คือ ประเทศพม่า ซึ่งมีชายแดนติดกับมณฑลยูนนานของประเทศจีน แรกเริ่มเดินทัพจากอำเภอ เจิ้งคัง อยู่ที่หม่าหลี่ป๊า หรือโกกังค์ ในประเทศพม่า ได้ระยะหนึ่ง นายพลลีได้พากองกำลังมุ่งหน้าไปที่ “เมืองสาด” ในเขตเชียงตุงประเทศพม่า
.
เหตุที่กองกำลังต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกองทัพหรือกองกำลังอาสาต่างมุ่งหน้าเดินทางไปเมืองสาด หลังจากที่ต่างอยู่กันอย่างกระจัดกระจาย ก็ด้วยเหตุผลและหัวใจเดียวกันคือการกู้ชาติ ทำไมต้องเป็นเมืองสาดเพราะที่แห่งนี้เป็นศูนย์รวมของเหล่าทหารรัฐบาล ก๊กมินตั๋ง (KMT) กลุ่มทหารชาวยูนนาน โดยมี “นายพลหลีหมิง” เป็นผู้นำที่มีเชื้อสายยูนนาน ท่านเป็นเพื่อนของนายพล แม็คอาเธอร์ แห่งกองทัพสหรัฐอเมริกา สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านเป็นผู้บังคับบัญชาของนายพลลีเหวินฮ้วน แห่งถ้ำง๊อบ อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ และนายพลต้วนซีเหวิน แห่งดอยแม่สลอง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ในเวลานั้นนายพลหลีหมิง เป็นศูนย์รวมที่สำคัญยิ่งในทุก ๆ ด้านโดยเฉพาะทางด้านจิตใจและกำลังใจของทหาร กลุ่มชาวยูนนานทุกคนมีกำลังใจที่ดีมาก ทุกอย่างดำเนินไปด้วยดีแต่ต้องสะดุดหยุดลง เพราะนายพลลีหมิงถูกกลั่นแกล้งจากทหารสายอื่น ท่านถูกรายงานไปไต้หวัน ในที่สุดถูกเรียกตัวกลับไต้หวันและถูกกักบริเวณภายในบ้านพักจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
.
ท่านนายพลหลีหมิงถูกเรียกตัวกลับไต้หวันแล้ว ทางรัฐบาลก๊กมินตั๋ง (จีนคณะชาติ KMT) ได้ส่ง “นายพลหลิวหยุ่นหลิง” มาแทน ท่านไม่ได้เป็นคนเชื้อสายยูนนานนายพลหลิวหยุ่นหลิง ได้จัดกระบวนทัพครั้งใหญ่อีกครั้ง โดยให้กองพลที่ 13 บังคับบัญชาโดย นายพลหลีเหวินฮ้วน (นายพลลี) และกองพลที่ 14 บังคับบัญชาโดยนายพลหลิวเซ่าทัง ให้ทั้งสองกองพันมารวมกันเป็น กองทัพที่ 3 ให้นายพลลีเหวินฮ้วน รับตำแหน่งแม่ทัพ นายพลหลิวเซ่าทัง รับตำแหน่งรองแม่ทัพที่หนึ่ง ตั้งแต่ออกจากจีนมีการสู้รบมาโดยตลอดที่เมืองสาดนี้เองทีเกิดการสู้รบครั้งใหญ่ ระหว่างกองกำลังทหารก๊กมินตั๋ง และกองกำลังทหารพม่า จากการปะทะด้วยกำลังทั้งสองฝ่ายได้ลุกลามเป็นปัญหาระหว่างประเทศ โดยมีรัฐบาลจีนของพรรคอมมิวนิสต์ให้การสนับสนุน ได้ทำหนังสือร้องเรียนไปสหประชาชาติ ทางสหประชาชาติได้ตั้งตัวแทนฝ่ายต่างๆ เข้ามาแก้ปัญหาตัวแทนมาจากไต้หวัน (ในฐานะเป็นประเทศแม่กองกำลังก๊กมินตั๋ง) ประเทศพม่า ประเทศสหรัฐอเมริกา และตัวแทนจากประเทศไทย ตัวแทนฝ่ายไทย คือ พลเอกชาติชาย ชุณหวัณ อดีตนายกรัฐมนตรี
.
ผลของการประชุม คือ ทุกฝ่ายตกลงให้อพยพกลุ่มก๊กมินตั๋ง หมายถึง ทหารและพลเรือนพลัดถิ่นให้เดินทางกลับไปประเทศแม่ของตน คือ ไต้หวัน ที่ประธานาธิบดีเจียงไคเช็ค ซึ่งเป็นผู้นำพรรคก๊กมินตั๋ง ถอยร่นหนีไปตั้งถิ่นฐาน (ค.ศ. 1953) การอพยพครั้งที่ 1 จัดโดยองค์การสหประชาชาติ เส้นทางผ่านท่าขี้เหล็ก (ติดกับอำเภอแม่สายของไทย) ให้ผู้อพยพเดินทางมาขึ้นเครื่องบินที่จังหวัดลำปาง การอพยพครั้งนั้นมีประมาณ 8,000 คน (ค.ศ. 1961) การอพยพครั้งที่ 2 การอพยพไปจากที่ต่างๆ 3 แห่ง คือ จากจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และประเทศลาว ผู้อพยพทั้งหมดเดินทางไปรวมกันที่ “หลวงน้ำทา” ประเทศลาว จำนวนผู้อพยพทั้งหมดกว่า 10,000 คน การอพยพครั้งนี้รัฐบาลก๊กมินตั๋งจากไต้หวันได้จัดเครื่องบินมารับเอง
.
ก่อนที่จะมีการอพยพไปไต้หวันนั้นทหารก๊กมินตั๋งที่ชายแดนไทย พม่า และลาว แบ่งออกเป็น 5 กองทัพ เมื่ออพยพกลับไต้หวันทั้งสองครั้งสิ้นสุดลง กองทัพที่ 1,2,4 ได้อพยพกลับไต้หวัน ส่วนกองทัพที่เหลือ คือ กองทัพที่ 3 นำโดย นายพลลี เหวินฮ้วน หรือนายพลลี เป็นชื่อเรียกของทหารราชการไทย ซึ่งอดีตกองบัญชาการและบ้านพักของท่านยังคงมีอยู่ที่ถ้ำง๊อบ อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ท่านได้เสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 2000 ส่วนกองทัพที่ 5 นำโดย นายพลต้วนซีเหวิน หรือนายพลต้วน ท่านได้เสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1981 กองกำลังของกองทัพที่ 3 และ 5 บางส่วนได้อพยพไปไต้หวัน และคงกำลังอีกส่วนหนึ่งไว้เพื่อรอวันกลับประเทศจีน
.
สุดท้ายพรรครัฐบาลก๊กมินตั๋ง ได้ทิ้งทั้งสองนายพล (นายพลต้วน นายพลลี) และกองทัพที่ 3 กองทัพที่ 5 อย่างสิ้นเชิง ปล่อยให้ทั้งสองนายพลต้องต่อสู้ และทำทุกวิถีทางหาเลี้ยงทหารทั้งกองทัพรวมทั้งครอบครัวของทหารผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อความอยู่รอด ต้องหาแผ่นดิน หาประเทศใหม่ เพื่อลูกน้องใต้บังคับบัญชาและครอบครัว
.
ประมาณปี พ.ศ. 2503 – 2504 (ค.ศ. 1960) ชายแดนไทย – ลาว ด้านอำเภอเชียงของและอำเภอเชียงคำ มี ผกค. (ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์) แทรกซึมและได้จัดชนกลุ่มน้อยเผ่าม้งเป็นหมวดเป็นหมู่ขึ้นในเขตดอยผาหม่น และดอยยาว อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย จุดประสงค์เพื่อต่อต้านรัฐบาลไทย เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ คณะรัฐบาลโดยการนำของ “จอมพลถนอม กิตติขจร” หลังจากตกลงกันเป็นการภายในจึงสั่งการอย่างลับ ๆ ให้นายพลลี จัดกำลังพันกว่านายเคลื่อนไปประจำยังดอยผาหม่นขัดขวางการกระทำของชนเผ่าม้ง เมื่อกำลังของนายพลลีไปถึงไม่นานก็สามารถระงับเหตุการณ์ครั้งนั้นได้
.
ต่อมานายพลลีได้โยกย้ายทหารส่วนใหญ่ไปยังบ้านถ้ำง๊อบ ขณะนั้นขึ้นกับอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ แต่ยังคงเหลือทหารประมาณ 500 นาย ไว้ที่ดอยผาหม่น ทางฝ่าย ผกค. เมื่อรู้ว่ากำลังทหารของนายพลลี ส่วนใหญ่ย้ายออกไปแล้วจึงเริ่มก่อการไม่สงบขึ้นอีก นายพลลีได้จัดกำลังทหารประมาณกว่า 200 นาย เข้าไปร่วมกับทหารลาวซึ่งขณะนั้น “รัฐบาล ท้าวภูมี หน่อสวรรค์” เป็นผู้นำเข้ากวาดล้างฐานใหญ่ของคอมมิวนิสต์ลาวที่ไชยบุรี หลังจากนั้นดอยผาหม่นได้สงบไปหลายปี
.
ประมาณปี พ.ศ. 2510 (ค.ศ.1967) ดอยผาหม่นได้มีคอมมิวนิสต์สากลให้การสนับสนุนพยายามก่อกวนและสร้างความเข้าใจผิดระหว่างรัฐบาลไทยกับทหารของนายพลลี เช่น ฆ่าผู้ใหญ่บ้าน และคนของทางราชการอีกหลายคนโดยเอาเครื่องแบบทหารของทหารนายพลลีไปวางไว้ที่ไม่ห่างไกลจากศพ ทางการจึงบังคับให้กองกำลังของนายพลลีให้ออกจากดอยผาหม่นทั้งหมด ให้ย้ายไปที่ถ้ำง๊อบที่ได้ย้ายไปก่อนหน้านั้น เมื่อนายพลลีย้ายทหารออกจากพื้นที่หมดแล้ว จากนั้นประมาณ 3 เดือน คอมมิวนิสต์สากลได้สมทบและช่วยผู้ก่อการร้ายฝ่ายไทย บุกเข้ายึดดอยผาหม่น พร้อมทั้งส่งอาวุธจำนวนมากผ่านประเทศลาวเข้ามาฝึกอบรมชาวเผ่าม้ง เพื่อให้เป็นกำลังสำคัญในการก่อกวนทหารไทยโดยเข้าจู่โจมเจ้าหน้าที่ตำรวจ ลอบทำลายรถโดยสาร และทรัพย์สินของชาวบ้าน กระทั้งทำกลอุบายเข้ามอบตัวต่อทางการเพื่อหลอกล่อให้เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ ไปสังหาร เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ผู้กำกับการตำรวจและเสนาธิการกองทัพภาคที่ 3
.
ต่อมา พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ รองเสนาธิการใหญ่ของกองบัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น ได้ตกลงกับนายพลลี และนายพลต้วน ให้จัดกำลังทหารประมาณพันกว่านายรวมกับทางราชการกวาดล้าง ผกค. ที่ดอยผาหม่น ดอยหลวง ได้เป็นผลสำเร็จ เมื่อทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ เสด็จพระราชดำเนินถึงอำเภอเชียงของ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.1971 พระราชทานวโรกาสให้นายพลต้วน และนายพลลีเข้าเฝ้าเป็นการส่วนพระองค์ มีกระแสรับสั่งชมเชยนายพลทั้งสองในการกวาดล้างผู้ก่อการร้ายได้สำเร็จ และนายพลลีได้ถวายหินที่ระลึกซึ่งเป็นหินจากดอยผาหม่น ดอยผาตั้ง เพื่อแสดงว่าพื้นที่ดังกล่าวได้กลับคืนเป็นของปวงชนชาวไทยแล้วโดยสมบูรณ์
.
หลังจากการสู้รบยุติลง รัฐบาลให้ทหารของนายพลลีบางส่วนคงไว้ที่ดอยผาตั้งเพื่อทำหน้าที่เฝ้ารักษาเขตชายแดนบริเวณนี้อีกส่วนหนึ่งให้กลับฐานเดิม คือ ถ้ำง๊อบ และบ้านอรุโณทัย จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันหมู่บ้านดอยผาตั้งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่ง โดยเฉพาะช่วงฤดูหนาว อยู่ในอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ณ
.
สมรภูมิครั้งนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของการได้รับการโอนสัญชาติเป็นคนไทย โดยทางการรัฐบาลไทยได้เห็นการทำสงครามอย่างกล้าหาญ เสียสละเพื่อปกป้องแผ่นดินไทย จึงได้กราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้ทรงทราบและได้พระมหากรุณาธิคุณให้สัญชาติไทยแก่อดีตทหารจีน คณะชาติก๊กมินตั๋งและครอบครัว เป็นการสิ้นสุดชีวิตที่เร่ร่อนไร้สัญชาติ ไร้แผ่นดินอันยาวนาน
.
สมรภูมิเขาค้อ เขาหญ้าที่ จ.เพชรบูรณ์ พ.ศ. 2525 (ค.ศ.1982) เขาค้อ เขาหญ้า เป็นแหล่งสะสมกำลังของผู้ก่อการร้าย คอมมิวนิสต์แหล่งสุดท้ายที่ใหญ่ที่สุดที่ยังคงเหลืออยู่ในสมัยของท่านพลเอกเปรม ติณสูลนนท์ ได้ติดต่อให้กองทัพที่ 3 ของนายพลลี และกองทัพที่ 5 ของนายพลต้วนส่งกำลังทหารรวม 400 นายร่วมกองกำลังของทางราชการเข้าปราบปราม ผกค. เป็นการกวาดล้างผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในประเทศไทยให้หมดไป ซี่งเป็นสิ่งที่พวกเราอดีตทหารจีนคณะชาติก๊กมินตั๋ง พร้อมทั้งลูกหลานรู้สึกภาคภูมิใจและเป็นเกียรติอย่างสูง ที่ได้มีโอกาสที่ได้ปกป้องประเทศชาติอีกครั้ง
.
กองกำลังของ “นายพลลีเหวินฮ้วน” นอกจากประจำที่ถ้ำง๊อบ อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นที่ตั้งกองบัญชาการ ท่านมีหมู่บ้านบริวารอีก 40 กว่าหมู่บ้านที่อยู่ในความดูแล และตามชายแดน 3 จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน ซึ่งส่วนมากเป็นชาวจีนยูนาน ปัจจุบันได้มีการโอนสัญชาติเป็นชาวไทยเชื้อสายยูนนาน อาศัยอยู่ตามชายแดน อ.เวียงแหง อ.เชียงดาว อ.ไชยปราการ อ.ฝาง และอำเภอแม่อายของจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนจังหวัดเชียงราย มี อ.เวียงแก่น อ.เชียงของ อ.แม่สรวย อ.แม่สาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีบ้านแม่ออ อ.เมือง
.
พวกเราลูกหลานอดีตทหารจีนคณะชาติก๊กมินตั๋งและครอบครัวมีชีวิตอยู่ได้ทุกวันนี้ก็ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทพระสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินินาถ และบรมวงศ์ศานุวงศ์ทุกพระองค์แห่งราชวงค์จักรี และความเมตตากรุณาจากรัฐบาลไทย ตลอดจนได้รับความเห็นอกเห็นใจจากประชาชนชาวไทยที่เอื้อเฟื้อ และอนุเคราะห์พวกข้าพเจ้าให้ที่อยู่ที่ทำมาหากินเพื่อยังชีพบนแผ่นดินไทยมาเป็นเวลากว่า 60 ปีพวกข้าเจ้าซาบซึ้งและระลึกในพระมหากรุณาธิคุณและสำนึกในหนี้บุญคุณต่อแผ่นดินไทยตลอดจนประชาชนชาวไทยทั้งมวล และตลอดไป

Resource:http://banarunothai.pantown.com/

ชมวัฒนธรรมคะฉิ่น กินอาหารยูนาน






ตั้งอยู่ที่บ้านใหม่สามัคคี ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่



จากตัวเมืองเชียงใหม่ไปตามทางหลวงหมายเลข 107 ถึงอำเภอเชียงดาว เลี้ยวซ้ายตรงแยกเมืองงาย เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1178 สายเมืองงาย - อรุโณทัย ถึงทางแยกที่ด่านชุดปฏิบัติรบพิเศษตรงบ้านรินหลวง เลี้ยวขวาไปอีก 5 กิโลเมตร จะพบทางเข้าศูนย์ฯอยู่ทางซ้าย เลี้ยวเข้าไปอีก 1กิโลเมตร รวมระยะทางจากเชียงใหม่ประมาณ 113 กิโลเมตร


ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
.
ชมวิถีชีวิตของชนเผ่าต่าง ๆ ได้แก่ อาข่าที่บ้านใหม่สามัคคี มูเซอ ลัวะ และคะฉินที่บ้านหนองเขียว ลีซอที่บ้านรินหลวง และชาวจีนฮ่อที่บ้านอรุโณทัยในปัจจุบันชนเผ่าเหล่านี้นับถือศาสนาคริสต์ จึงไม่ทำพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการนับถือผี จะมีก็แต่พิธีกินข้าวใหม่ที่จัดขึ้นในช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม
.
ชนเผ่าคะฉิ่น อพยพมาจากพม่า ในประเทศไทยมีอยู่แห่งเดียวที่นี่ จึงเป็นจุดดึงดูดใจด้านการท่องเที่ยวสำหรับผู้ที่สนใจจะมาชมชีวิตความเป็นอยู่ของคนคะฉิ่น มีศูนย์วัฒนธรรมที่เป็นบ้านตัวอย่าง เก็บข้าวของเครื่องใช้ เสื้อผ้าประจำเผ่า และเป็นศูนย์รวมของกิจกรรม ชนเผ่าคะฉิ่นนิยมการเต้นระบำ ซึ่งมีหลากหลายในวาระต่าง ๆ ถ้าสนใจจะชมติดต่อได้ล่วงหน้า
.
จีนฮ่อ อาศัยอยู่ที่บ้านอรุโณทัย ซึ่งเดิมชือบ้านหนองอุก มีหนองน้ำใหญ่ราว 50 ไร่อยู่กลางหมู่บ้าน ใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใน หมู่บ้านนี้ติดชายแดนไทย - พม่า ไม่มีช่องทางติดต่อกันที่กิ่วผาวอก ถ้าในช่วงที่สถานการณ์ปกติก็จะมีตลาดการค้าชายแดนที่หน้าสนใจ
.
ชาวอาข่า มูเซอ ลัวะ ที่นี่ปัจจุบันนับถือศาสนาคริสต์อย่างเคร่งครัด ทุกวันอาทิตย์เข้าโบสถ์และไม่มีพิธีกรรมใด ๆ เกี่ยวกับผี
.
เทศกาลงานประเพณี
กินข้าวใหม่ กินวอ งานปีใหม่ งานคริสต์มาส ตรุษจีน และไหว้พระจันทร์
.
ท่องเที่ยวเชิงเกษตร
ชมแปลงสาธิตภายในศูนย์ฯ ซึ่งสาธิตการปลูกอาโวกาโดพันธุ์ต่าง ๆ และที่จุดชมวิวของศูนย์ฯ บริเวณอ่างเก็บน้ำ มีแปลงสาธิตการปลูกผัก เช่น แตงกวาญี่ปุ่น ฟักทองแฟนซี คะน้ายอดอยคำ มะเขือม่วง ฟักทองญี่ปุ่น บริเวณอ่างเก็บน้ำมีทิวทัศน์สวยงาม มองออกไปกว้างไกลจะเห็นการทำสวน การปลูกพืชไร่ และแปลงไม้ดอกของเกษตรกร ที่ขึ้นหน้าขึ้นตา ได้แก่ การทำสวนมะม่วง ไร่ข้าวโพด แปลงเสาวรส และแปลงดอกแกลดิโอลัส ดอกพรรษา ดอกว่านสี่ทิศ นอกจากนี้บริเวณนี้ยังมีพื้นที่ที่สามารถกางเต็นท์ได้เมื่อตื่นขึ้นมาจะไดสัมผัสกับไอหมอกยามเช้า
.
ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ
บริเวณใกล้เคียงมีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ได้แก่ น้ำตกศรีสังวาลย์ ถ้ำหนองวัวแดง ถ้ำป่าหก โป่งน้ำร้อน โป่งอ่าง



ทางศูนย์ฯมีบริการอาหาร แต่ต้องติดต่อล่วงหน้า
ที่บ้านอรุโณทัยมีร้านอาหารตามสั่งให้เลือกอีกหลายร้าน และที่น่าลิ้มลองคือ อาหารจีน ยูนาน อาหารแนะนำ ได้แก่ ก๋วยเตี๋ยวยูนาน หมูพันปี เกี๊ยวซ่า
นอกจากนี้ยังมีอาหารจานเด็ดของชนเผ่า เช่น ซ่าเปลือกไม้ของมูเซอ ไก่คั่วอ้อย และปลาว่อนอบไม้ไผ่ของคะฉิ่น น้ำพรกถั่วเน่าของอาข่า และน้ำพริกลีซอ เป็นต้น (สนใจติดต่อล่วงหน้า)


สินค้าหัตถกรรม มีการทอผ้า มีทั้งผ้าถุง ผ้าตัดเสื้อ กระเป๋า ย่าม ฯลฯ ของคะฉิ่น มูเซอ การปักผ้า และเครื่องประดับที่ปักด้วยลูกเดือย เปลือกหอย และเครื่องเงินของอาข่า การเย็บรองเท้าผ้าของจีนฮ่อ เคื่องจักรสานและการตีมีดของมูเซอ

สินค้าเกษตรกรรม มีผลผลิตทางการเกษตร ได้แก่ ผลไม้ ผัก และดอกไม้ เช่น มะละกอปากช่อง มะม่วง ฝรั่ง และอาโวกาโด เป็นต้น





ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว
บ้านใหม่สามัคคี - หนองเขียว หมู่ 10 ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ 50170
โทรศัพท์ 01-287-3474

เชียงใหม่เพิ่งตื่น เปิดจุดกิ่วผาวอก โดดแจมค้าพม่า



เชียงใหม่เพิ่งตื่น เปิดจุดกิ่วผาวอก โดดแจมค้าพม่า
.

เชียงใหม่ขอเอี่ยวค้าชายแดนไทย-พม่า เคาะสนิทเปิดจุดผ่อนปรนกิ่วผาวอก ที่ปิดมาตั้งแต่ปี 45 หลังให้ม.เชียงใหม่ศึกษาพบมีศักยภาพสูง ใกล้เมืองตองกีและเมืองหลวงใหม่ปินมามา คาดเปิดเมื่อไหร่เงินสะพัดไม่ต่ำกว่าเดือนละ 50 ล้านบาท
.
นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ ผู้ว่าราชการจ.เชียงใหม่ เปิดเผยว่า จากการประชุม
ศูนย์สั่งการชายแดนไทย-พม่า จ.เชียงใหม่ ณ จุดผ่อนปรนชายแดนชั่วคราวกิ่วผาวอก หมู่ 10 บ้านอรุโณทัย ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว เมื่อเร็วๆนี้ ที่ประชุมเห็นพ้องกันว่า จะส่งเสริมให้เปิดจุดผ่อนปรนชายแดนกิ่วผาวอกให้เร็วที่สุด เพื่อเชื่อมโยงการค้าการลงทุนไทย-พม่า หลังจากที่ปิดไปตั้งแต่ปี 2545 เมื่อครั้งเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในพม่า
.
"ขณะนี้สถานการณ์ได้เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว อีกทั้งได้รับการร้องขอจากนักธุรกิจและประชาชนในพื้นที่ โดยฝ่ายทหารได้นำเรื่องเสนอที่ประชุมคณะกรรมการประสานงานชายแดนไทย-พม่าหรือทีบีซีของพม่าแล้ว และคาดว่าไม่น่าจะมีปัญหา ขณะที่ปัญหาความไม่สงบในพม่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการเปิดด่านชายแดนแต่อย่างใด แต่กลับจะทำให้มีรายได้สะพัดช่วงเปิดด่านเดือนละกว่า 50 ล้านบาท โดยมีสินค้าส่งออกสำคัญ คือ สินค้าอุปโภคบริโภค ขณะที่สินค้านำเข้า คือ โค กระบือ และสินค้าเกษตร"ผวจ.เชียงใหม่กล่าวและว่า
สำหรับการดำเนินการของส่วนราชการนั้น จะประกอบด้วยสำนักงานพาณิชย์จังหวัด ด่านตรวจคนเข้าเมือง ด่านศุลกากร สาธารณสุขจังหวัด ตำรวจ ทหารและอาสาสมัครอยู่ในพื้นที่ ขณะที่ปศุสัตว์จังหวัดจะจัดทำคอกกักกันสัตว์เนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ไว้ใกล้ ๆ กัน โดยจะมีลานค้าขายสินค้า ซึ่งขณะนี้ทุกฝ่ายกำลังเร่งดำเนินการ และจะเปิดดำเนินการให้เร็วที่สุด เมื่อทางประเทศพม่าพร้อม
.
ด้านนายวัยรักษ์ วลัยรัตน์ พาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันปริมาณการค้าชายแดนของจังหวัดเชียงใหม่มีค่อนข้างน้อย ทั้งที่มีศักยภาพสูง ก่อนหน้านี้จังหวัดได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ศึกษาความเป็นไปได้ในการเปิดด่านการค้าชายแดน 3 จุดของเชียงใหม่ คือ 1.ด่านหลักแต่ง ต.เปียงหลวง อ.เวียงแหง 2.ด่านกิ่วผาวอก บ้านอรุโณทัย อ.เชียงดาว และ 3.ด่านของอ.แม่อาย ซึ่งพบว่าด่านที่เหมาะสม คือ ด่านกิ่วผาวอก เนื่องจากเส้นทางนี้จะเป็นเส้นทางใกล้สุดที่จะเชื่อมเมืองตองกีของพม่า หากเปิดได้จะใช้ระยะทางที่สั้นกว่าจากอ.แม่สาย จังหวัดเชียงราย และแม่ฮ่องสอน โดยจะเป็นเส้นทางการค้าชายแดนที่มีศักยภาพ ที่ควรจะสนับสนุนให้มีการส่งออกสินค้าไทยให้มากขึ้น
.
ส่วนเส้นทางที่ต่อเนื่องจากจุดผ่อนปรนกิ่วผาวอก เป็นเส้นทางหมายเลข 45 ที่จะผ่านเมืองต่วน มีประชากรมากกว่า 100,000 คน จะมีศักยภาพและเหมาะสมที่สุดที่จะเปิดทำการค้าขาย
.
ด้านนายณรงค์ ตนานุวัฒน์ ประธานกรรมการหอการค้าจ.เชียงใหม่ กล่าวว่า การเปิดด่านกิ่วผาวอกอยู่ในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีการค้าขายกันทุกวันพุธ พฤหัสบดี และศุกร์ ทำให้มีเงินหมุนเวียนสัปดาห์ละไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท มียอดการค้าไม่ต่ำกว่าเดือนละ 40 ล้านบาท แต่ปัจจุบันมีไม่ถึง 10 ล้านบาท อย่างไรก็ตามปัจจุบันแนวโน้มการค้าชายแดนจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ด่านภูดู่จ.อุตรดิตถ์มียอดการค้าถึงปีละ 180 ล้านบาท
.
ด่านการค้าชายแดนของเชียงใหม่ ก็มีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นด่านสำคัญได้ เนื่องจากมีระยะใกล้เมืองหลวงใหม่ของพม่า คือ นครหลวงปินมานา อีกทั้งมีพื้นที่การค้าขายที่เป็นลานกว้างถึงประมาณ 200 ไร่ ซึ่งทางหอการค้าเชียงใหม่พร้อมจะผลักดันให้เกิดการค้าชายแดนด้านนี้ให้มีศักยภาพต่อไป และในอนาคตจะช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าให้เชียงใหม่ได้ถึงระดับ 100 ล้านบาทต่อปี
.
อนึ่งจังหวัดเชียงใหม่มีแนวชายแดนติดต่อกับประเทศสหภาพพม่าเป็นระยะทางยาวประมาณ 227 กิโลเมตร ในเขตพื้นที่อ.เวียงแหง เชียงดาว แม่อาย และอ.ไชยปราการ มีจุดผ่อนปรนเพียง 2 จุด คือ จุดผ่อนปรนช่องทางกิ่วผาวอก (เปิดเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2540) ตั้งอยู่ที่บ้านอรุโณทัย หมู่ที่ 10 ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว (ด่านศุลกากรเชียงดาว) และจุดผ่อนปรนหลักแต่ง ตั้งอยู่ที่บ้านเปียงหลวง อ.เวียงแหง (ด่านศุลกากรเชียงดาว) สภาพการค้ายังมีปริมาณไม่มาก เนื่องจากประชาชนของพม่าในบริเวณใกล้เคียงยังยากจน ค่าครองชีพต่ำ การคมนาคมระหว่างเมืองต่าง ๆ ในพม่ายังลำบาก
.
ภาพประกอบไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่องจาก http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=pinestand&month=03-11-2007&group=1&gblog=11