วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ระบบการตลาดข้าวโพดหวานในจังหวัดสงขลา

รหัสนักศึกษา: 4706519
ปีการศึกษา: 2548
ชื่อวิทยานิพนธ์: ระบบการตลาดข้าวโพดหวานในจังหวัดสงขลา
ชื่อผู้วิจัย-นามสกุล: นางสาวมยุรา บูรณะพาณิชย์กิจ
สาขาวิชา: ธุรกิจเกษตร


บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา

1) สภาพทั่วไปของเกษตรกร การผลิตและการขายข้าวโพดหวาน ลักษณะผู้ดำเนินการด้านการตลาด และการดำเนินการด้านการตลาด
2) โครงสร้างการตลาด วิถีการตลาด และส่วนเหลื่อมการตลาด และ
3) ปัญหาและอุปสรรคของระบบการตลาดข้าวโพดหวานในจังหวัดสงขลา

โดยการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เกษตรกร จำนวน 30 ราย พ่อค้าจำนวน 20 ราย และผู้ส่งออก จำนวน 3 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา ผลการวิจัยพบว่า

เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชายและนับถือศาสนาพุทธ มีอายุเฉลี่ย 43.6 ปี มีรายได้ต่อครัวเรือนเฉลี่ย 33,800 บาทต่อเดือน และจากการผลิตข้าวโพดหวานเฉลี่ย 6,900 บาทต่อเดือน ส่วนใหญ่ใช้เงินทุนของตนเองทั้งหมด ปริมาณข้าวโพดหวานในช่วงที่ผลิตได้มากเฉลี่ย 1,340 กิโลกรัมต่อไร่ต่อรุ่น มีราคาเฉลี่ย 6.9 บาทต่อกิโลกรัม พันธุ์ที่นิยมผลิตมาก คือ พันธุ์ซูการ์

พ่อค้าเป็นเพศชายและเพศหญิงอย่างละครึ่ง ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีอายุเฉลี่ย 37.8 ปี มีรายได้ต่อครัวเรือนเฉลี่ย 34,700 บาทต่อเดือน และจากการขายข้าวโพดหวานเฉลี่ย 24,600 บาทต่อเดือน ส่วนใหญ่ใช้เงินทุนของตนเองทั้งหมด พันธุ์ที่นิยมรับซื้อ คือพันธุ์ซูการ์ ปริมาณข้าวโพดหวานในช่วงที่รับซื้อมากและช่วงที่รับซื้อมากและช่วงที่ขายได้มากเฉลี่ย 16,770 กิโลกรัมต่อเดือน มีราคารับซื้อเฉลี่ย 9.2 บาทต่อกิโลกรัม และราคาขายเฉลี่ย 15.9 บาทต่อกิโลกรัม

ผู้ส่งออกส่วนใหญ่เป็นเพศชายและนับถือศาสนาพุทธ มีอายุเฉลี่ย 42.3 ปี มีรายได้ต่อครัวเรือนเฉลี่ย 808,000 บาทต่อเดือน และจากการส่งออกข้าวโพดหวานเฉลี่ย 692,000 บาทต่อเดือน ส่วนใหญ่ใช้เงินทุนของตนเองและกู้บางส่วน พันธุ์ที่นิยมรับซื้อเป็นพันธุ์ที่ต่างประเทศต้องการ คือ พันธุ์ซูการ์และพันธุ์ไฮ-บริกซ์ ส่วนใหญ่ส่งออกประเทศมาเลเซีย

ปริมาณข้าวโพดหวานในช่วงที่รับซื้อมากเฉลี่ย 127 ตันต่อเดือน มีราคาเฉลี่ย 5.3 บาทต่อกิโลกรัม ปริมาณในช่วงที่ส่งออกมากเฉลี่ย 85 ตันต่อเดือน มีราคาเฉลี่ย 26.7 บาทต่อกิโลกรัม

โครงสร้างการตลาดข้าวโพดหวานมีลักษณะคล้ายคลึงกับตลาดผู้ซื้อผู้ขายน้อยราย (Oligopoly Oligopsony) โดยมีความแตกต่างของสินค้าและการให้บริการร่วม

ผู้ส่งออกมีอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดมากกว่าพ่อค้า วิธีการตลาดข้าวโพดหวาน พบว่า เกษตรกรขายให้กับพ่อค้ารวบรวมในหมู่บ้าน พ่อค้าส่ง พ่อค้าปลีก ผู้บริโภคโดยตรง และบริษัท ส่วนพ่อค้ารวบรวมในหมู่บ้านขายให้กับพ่อค้าส่ง พ่อค้าปลีก พ่อค้าต่างจังหวัด ผู้บริโภคโดยตรง และผู้ส่งออก ส่วนพ่อค้าส่งขายให้กับพ่อค้าปลีก ผู้บริโภคโดยตรง และผู้ส่งออก

ส่วนพ่อค้าปลีกขายให้ผู้บริโภคโดยตรงทั้งหมด บริษัทขายให้กับพ่อค้าส่งและผู้บริโภคโดยตรง และผู้ส่งออกขายให้กับพ่อค้าส่งและลูกค้าต่างประเทศ ส่วนเหลื่อมการตลาดทั้งหมดที่เกิดขึ้นในระบบธุรกิจการขายข้าวโพดหวานเฉลี่ย 15.1 บาทต่อกิโลกรัม และส่วนเหลื่อมการตลาดทั้งหมดที่เกิดขึ้นในระบบธุรกิจการส่งออกข้าวโพดหวานเฉลี่ย 20.2 บาทต่อกิโลกรัม ปัญหาและอุปสรรคของระบบการตลาด คือ 1) ปัญหาผลผลิตเน่าเสียง่าย ไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน 2) ปัญหาแหล่งรับซื้อผลผลิตมีน้อย 3) ปัญหาขาดเทคโนโลยีในการแปรรูป 4) ปัญหาด้านต้นทุนการตลาดสูง 5) ปัญหาปริมาณผลผลิตที่ไม่แน่นอน และ 6) ปัญหาความไม่เป็นธรรมในด้าน ราคาที่เกษตรกรได้รับ



Minor Thesis Title
Marketing System of Sweet Corn in Changwat Songkhla


Author
Ms Mayura Buranapanichakit


Major
Agribusiness


Abstract
The objectives of this research were to analyze and describe economic aspects and the social setting of sweet corn farming and its farmers, and of the related dealers and exporters. The research focused on 1) production and selling, including the characteristics of marketing and distribution; 2) related activities of marketing by sellers and buyers at various levels in the market; and 3) perceived problems with and bottlenecks in the marketing system of sweet corn is Changwat Songkhla. The primary data was derived by interviewing 30 farmer, 20 dealers, and 3 exporters. The data analysis was performed with full use of descriptive statistics. The results reveal that most of the farmers were male and Buddhist, with an average age of 43.6 years, and practically all had finished primary education. The average household income was 33,800 Baht per month, to which the selling of sweet corn contributed 6,900 Baht per month. The farmers mostly invest their own money in sweet corn production. The average quantity of sweet corn was about 1,340 kg per farm per harvest. The average price was about 6.9 Baht per kg, and the most popular corn - type was the Sugar variety. As to the dealers, over 50% of them were male, with a majority being Buddhist, and the average age was 37.8 years. Their average household income was 34,700 Baht per month, and includes the income of 24,600 Baht per month from their commercial activities regarding sweet corn. These dealers usually finance their business themselves. Their most popular, probably most profitable variety was also the Sugar type. In the high season they would buy and sell on the average about 16,770 kg per month , with an average price for buying and selling of 9.2 and 15.9 Baht per kg, respectively. Two of the three exporters were male, all were Buddhist, and their average age was 42.3 years. The average income from commercial and export activities was 808,000 Baht per month, to which the export of sweet corn contributed 692,000 Baht per month. The exporters also finance their own business investments and running costs, but may take a loan from a bank. In their opinion, the two popular types are Sugar and Hi – Brit. In the high season, the exporters bought on average some 127 tons per month, for an average price of 5.3 Baht per kg. Sweet corn is mainly exported to Malaysia. In the high season each exported would on average sell a quantity of 85 tons per month, with a price tag of 26.7 Baht per kg. The sweet corn market structure is similar to an Oligopoly Oligopsony. Moreover, sweet corn makes different of product and service support. Exporters have barriers to entry more than dealers. The marketing channels are as predictable as complicated, and come close to what one would expect. The average marketing margin in selling of sweet corn is about 15.1 Baht per kg, and 20.2 Baht per kg in the exporting business. The problems of and the bottlenecks in the overall marketing system are successively: 1) decomposed products due to a short storage life: 2) the limited number of places where sweet corn is offered for sale: 3) the lack of processing technology; 4) the high marketing costs; 5) uncertain product quantity; and last, but not least 6) the as unfair perceived pricing for the farmers.


Resource: http://www.economics.psu.ac.th/mab/research/detailAbtract.asp?ID=138


Link เชียงใหม่เทรดดิ้ง: http://chiangmaitrading.com/home.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น