วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552

รัฐฉาน

รัฐฉาน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐฉาน(ไทใหญ่: เมิ้งไต๊) หรือ รัฐไทใหญ่ เป็นรัฐหนึ่งในสหภาพพม่า


สภาพภูมิศาสตร์
.
ลักษณะภูมิประเทศของรัฐฉานเต็มไปด้วยภูเขาสูงและผืนป่า พื้นที่เต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่า สินค้าส่งออกที่สำคัญของรัฐฉานจึงเป็นจำพวกแร่ธาตุและไม้ชนิดต่างๆ
รัฐฉานมีตำแหน่งที่ตั้ง ดังนี้
.
ทิศตะวันออก ติดกับ แขวงหลวงน้ำทา และ แขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว
.
ทิศตะวันตก ติดกับ ภาคสะกาย และ ภาคมัณฑะเลย์
.
ประวัติ
.
ลักษณะภูมิประเทศของรัฐฉานเต็มไปด้วยภูเขาสูงและผืนป่า รัฐฉานจึงเต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่า สินค้าส่งออกที่สำคัญของรัฐฉานจึงเป็นจำพวกแร่ธาตุและไม้ชนิดต่างๆ ปัจจุบันรัฐฉานเป็นส่วนหนึ่งของประเทศพม่า มีชายแดนติดกับประเทศไทยด้านตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐ
.
รัฐฉาน ในอดีตกาลมีชื่อเรียกว่า “ไต” หรือที่เรียกกันว่า เมืองไต มีประชากรหลายชนชาติและอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข โดยมีชนชาติไทยใหญ่อาศัยอยู่มากที่สุด เมืองไตเคยมีเอกราชในการปกครองตนเองมาเป็นเวลาหลายพันปี ก่อนที่อังกฤษจะขยายอิทธิพลเข้ามาถึง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเมืองไตกับพม่าในอดีตนั้นจัดเป็นอิสระต่อกัน หรือกล่าวได้ว่าเป็นคนละอาณาจักรกัน เหมือนดั่งอาณาจักรอยุธยากับอาณาจักรเขมร
อาณาเขตของเมืองไตประกอบด้วยเมืองรวมทั้งหมด 33 เมืองแต่ละเมือง ปกครองด้วยระบบเจ้าฟ้าสืบต่อเนื่องกันมาตั้งแต่อดีต และถึงแม้จะมีเจ้าฟ้าปกครองหลายเมือง แต่ทุกเมืองก็รวมกันเป็นแผ่นดินชนชาติไต เนื่องมาจากที่ตั้งของเมืองไตอยู่ใกล้กับประเทศพม่า
.
เมืองไตกับประเทศพม่ามีการติดต่อค้าขายช่วยเหลือ และให้ความเคารพซึ่งกันและกันมาโดยตลอด เห็นได้จากในช่วงที่เจ้าฟ้าเมืองไตปกครองประเทศพม่าประมาณเกือบ 300 ปีไม่เคยมีการสู้รบกันเกิดขึ้น และยังมีการติดต่อค้าขายยังดำเนินไปอย่างสันติสุขเช่นกัน จนกระทั่งมาถึงสมัยบุเรงนอง ได้มีการสู้รบกันกับเจ้าฟ้าเมืองไตกับกษัตริย์พม่าเกิดขึ้น โดยฝ่ายเจ้าฟ้าเมืองไตเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ จึงทำให้ราชวงศ์เจ้าฟ้าบางเมือง ต้องจบสิ้นไปดังเช่นราชวงศ์เจ้าฟ้าเมืองนายซึ่งเป็นราชวงศ์ของกษัตริย์มังราย นอกจากนี้ยังมีอีกหลายราชวงศ์ที่ต้องสูญสิ้น ไปเพราะการสู้รบกับบุเรงนอง
.
จนมาถึงในสมัยพระเจ้าอลองพญา (พ.ศ. 2305 – 2428) ซึ่งเป็นสมัยที่อยุธยาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า กษัตริย์พม่าได้ทำการปราบปรามราชวงศ์ หรือผู้สืบเชื้อสายของเจ้าฟ้าไทใหญ่จนหมดสิ้นไปเป็นจำนวนมาก อาจกล่าวได้ว่าไตได้เป็นเมืองขึ้นของพม่าไปแล้ว และในช่วงเวลานี้ทหารพม่าได้เริ่มการกดขี่ข่มเหงทำร้ายคนไต ทำให้คนไตรู้สึกเกลียดชังคนพม่านับตั้งแต่นั้น
.
เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2428 อังกฤษได้ทำการจับกุมและยึดอำนาจกษัตริย์พม่า และขยายอาณาเขตไปยังเมืองเชียงตุงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองไตในปีเป็นเมืองขึ้น พ.ศ. 2433 และได้ประกาศว่า"อังกฤษได้ยึดเอาเมืองไตเรียบร้อยแล้ว"
.
เนื่องจากประเทศพม่าซึ่งตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มและเมืองไต ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาไม่ใช่ประเทศเดียวกัน อังกฤษจึงไม่ได้ทำการเข้ายึดพร้อมกันและถึงแม้อังกฤษ จะยึดทั้งสองเมืองเป็นเมืองขึ้นของต้นแต่อังกฤษก็ไม่ได้ปกครองทั้งสองเมืองในลักษณะเดียวกัน หากแบ่งการปกครองออกเป็นสองลักษณะ คือประเทศพม่าเป็นเมืองใต้อาณานิคม ส่วนเมืองไตเป็นเมืองใต้การอารักขา
.
และอังกฤษยัง ได้ทำการจับกุมกษัตริย์พม่าและกำจัดราชวงศ์ทั้งหมดของกษัตริย์พม่า ส่วนเมืองไตอังกฤษไม่ได้ทำลายราชวงศ์เจ้าฟ้า อีกทั้งยังสนับสนุนให้เจ้าฟ้าแต่ละเมือง มีอำนาจปกครองบ้านเมืองของตนเอง และได้สถาปนาให้เมืองทั้งหมดเป็นสหพันธรัฐฉานขึ้นกับอังกฤษ มิได้เป็นส่วนหนึ่งของพม่าแต่อย่างใด
ช่วงหลัง
สงครามโลกครั้งที่ 2 ทางการพม่าพยายามโน้มน้าวเหล่าบรรดาเจ้าฟ้าไต ให้เข้าร่วมเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ เจ้าฟ้าไตจึงได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาปางโหลง เมื่อปี พ.ศ. 2490 กับชาวพม่าและกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เพื่อขอเอกราชจากอังกฤษ โดยสัญญาดังกล่าวได้นำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งระบุให้ชนชาติที่ร่วมลงนามในสัญญา สามารถแยกตัวเป็นอิสระได้หลังจากอยู่ร่วมกันครบสิบปี
.
แต่เมื่ออังกฤษได้ให้เอกราชกับพม่าและไตแล้ว รัฐบาลกลางพม่าไม่ยอมทำตามสัญญา และพยายามการรวมดินแดนให้เป็นของประเทศพม่า เหตุนี้จึงทำให้ชาวไตหรือไทยใหญ่ จึงก่อตั้งกองกำลังกู้ชาติของตนเองขึ้นในปี พ.ศ. 2491
.
ทางรัฐบาลทหารพม่าได้ใช้ระบอบเผด็จการทหารกับชาวไต อีกทั้งยังได้ทำลายพระราชวังของไทยใหญ่ ในเมืองเชียงตุงและอีกหลายเมือง และเข้ามาจัดการศึกษาเกี่ยวกับพม่าให้แก่เด็กในพื้นที่ รัฐบาลทหารพม่าได้บังคับให้ประชาชนกว่า 3 แสนคนย้ายที่อยู่ ประชาชนมักถูกเกณฑ์ไปบังคับใช้แรงงาน ทั้งโครงการก่อสร้างและเป็นลูกหาบอาวุธให้ทหาร ทำให้มีผู้ลี้ภัยจำนวนมากหนีเข้ามายังประเทศไทย
.
ปัจจุบันสถานการณ์ภายในรัฐฉานก็ยังไม่มีเสถียรภาพทางความมั่นคงเท่าใดนัก และก็ยังมีกองกำลังกู้ชาติของตนเองอยู่ หากในช่วงที่ไม่มีการปะทะกับฝ่ายรัฐบาลทหารพม่า รัฐฉานก็จะมีความเงียบสงบซึ่ง เป็นพื้นฐานความต้องการที่แท้จริงของ ชาวไตหรือไทใหญ่ และพวกเขายังหวังลึกๆว่าสักวันหนึ่งรัฐฉานจะได้เป็นเอกราชของตนเอง ไม่ขึ้นกับทางพม่าอีกต่อไป
แผนที่รัฐฉาน แสดงเขตรัฐกิจระดับแขวง
การปกครอง
.
พื้นที่ 60,155 ตารางไมล์ แบ่งการปกครองเป็น 11 แขวง (ခ႟ုိင္) 54 เมือง (႓မိႂႚနယ္) 193 ตำบล
ประชากร

ประชากร 4.7 ล้านคน
ความหนาแน่น 75 คน/ตารางไมล์
เชื้อชาติ
ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของ
ไทใหญ่นอกจากนั้นก็จะมีชาวพม่า ชาวจีน ชาวกะฉิน ชาวดนู ชาวอินทา ชาวปะหล่อง ชาวปะโอ ชาวพม่าเชื้อสายอินเดีย ชาวกะหรี่ยง ชาวไทลื้อ ชาวคำตี่ ชาวไทดอย เป็นต้น
ศาสนา
ประชากรส่วนใหญ่จะนับถือ
ศาสนาพุทธ รองลงมาจะเป็นศาสนาคริสต์ซึ่งมีอิทธิพลมากในหมู่ชาวเขา ศาสนาอิสลามในหมู่ชาวอินเดีย และฮ่อ ศาสนาฮินดูในหมู่ชาวอินเดีย และศาสนาพื้นเมืองเดิมดั้งเดิมในหมู่ชาวเขาที่ล้าหลัง

3 ความคิดเห็น:

  1. ขอให้ชาติไต ได้รับเอกราช จากพม่าผุ้ป้าเถื่อน
    พม่าไม่มีสัจจะ ในหมู่จน พม่าก็คือจน นี้เอง

    ชาติไต จงเจริญ...จงเจริญ ..จงเจริญ

    ตอบลบ
  2. ขอให้ชาติไตได้รับเอกราช ด้วยเทอญ

    ตอบลบ
  3. ผมคนหนี่งที่รักชาติไต
    วันหนึ่งถ้ามีโอกาดผมจะ
    ไปช้วยชาติผมรักชาติไต

    ตอบลบ